สอบบรรจุสำนักงานอัยการจังหวัดพังงา

หมวดหมู่สินค้า: สำนักงานอัยการจังหวัด

26 ตุลาคม 2564

ผู้ชม 240 ผู้ชม

สำนักงานอัยการจังหวัดพังงา
 
  อำนาจหน้าที่โดยทั่วไปของพนักงานอัยการ
 
          เมื่อกล่าวถึงอัยการแล้วประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ทราบถึงอำนาจหน้าที่ของอัยการอย่างถูกต้องแท้จริงจะทราบแต่เพียงว่าอัยการมีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาในคดีอาญาเท่านั้นโดยมักจะพูดกันว่าอัยการมีมีหน้าที่เอาคนเข้าคุก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจอัยการเอาคนเข้าคุก ดังนั้น จึงต้องเผยแพร่ให้ประชาชนโดยทั่วไปรู้และเข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ของอัยการที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งพอจะสรุปได้ ดังนี้
          ๑. อำนาจหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรม ได้แก่ การบริหารงานยุติธรรมในส่วนฝ่ายบริหารของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบ เรียบร้อยและปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินโดยอัยการจะเป็นผู้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนเสนอมาแล้ววินิจฉัยสั่งคดี ตลอดทั้งดำเนินคดีอาญาทางศาลในฐานะทนายแผ่นดินตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ บัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ 
          ๒. อำนาจหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ได้แก่ การพิจารณาให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ตรวจร่างสัญญา ตอบข้อหารือตลอดจนทั้งการดำเนินคดีในศาลในฐานะทนายความของแผ่นดินแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา 
          ๓. อำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ เช่น ในคดีแพ่งให้อำนาจอัยการเข้าไปคุ้มครองสิทธิของบุคคลไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนสาบสูญ การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก การให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี โดยจัดการทนายอาสาให้ตลอดทั้งการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป
 
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอัยการ
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตามพระราชบัญญัติอัยการ พ.ศ.๒๔๙๘
          ๑. ดำเนินคดีอาญาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
          ๒. ในคดีแพ่งมีอำนาจดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล
          ๓.แก้ต่างคดีแพ่งหรือคดีอาญาในกรณีที่เจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่หรือราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องเนื่องจากการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ราชการ
          ๔. ว่าต่างหรือแก้ต่างคดีแพ่งให้เทศบาลหรือสุขาภิบาล แต่ต้องมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล
          ๕. ว่าต่างหรือแก้ต่างคดีแพ่งให้นิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาได้ตั้งขึ้น แต่ต้องมิใช่คดีที่พิพาทกับรัฐบาล
          ๖. เป็นโจทก์ในคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องเองไม่ได้เพราะมีกฎหมายห้ามไว้ เช่น ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ แต่เมื่อผู้นั้นร้องขอพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องแทนได้
          ๗. ในคดีที่บุคคลใดถูกลงโทษเนื่องจากการกระทำอันละเมิดต่ออำนาจศาล ถ้าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป เมื่ออัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้
          ๘. ในกรณีที่บุคคลใดผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาล อัยการมีหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา
  
อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
          ๑. ร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถและร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
          ๒. ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลซึ่งมีจิตฟั่นเฟือนหรือกายพิการและไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานของตนเองเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
          ๓. ร้องขอให้ศาลสั่งการให้ทำไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่
          ๔. ร้องขอให้ศาลสั่งตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปจัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ หรือขอให้ศาลสั่งให้ผู้จัดการหาประกันหรือแจ้งรายทรัพย์สินหรือถอดถอนผู้จัดการหรือตั้งผู้อื่นแทนต่อไปเมื่อมีเหตุอันสมควร
          ๕. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นคนสาบสูญและร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
          ๖. ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการชั่วคราวในกรณีที่ผู้จัดการนิติบุคคลว่างลงและถ้าทิ้งตำแหน่งว่างไว้จะเกิดความเสียหาย
          ๗. ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะการในกรณีผู้จัดการนิติบุคคลมีประโยชน์ได้เสียหรือเป็นปฏิปักษ์กับนิติบุคคล
          ๘. ดำเนินการในฐานะเป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิต่อไปในกรณีที่ผู้ตั้งมูลนิธิตายเสียก่อนที่นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนมูลนิธิ
          ๙. ร้องขอให้ศาลถอนถอนกรรมการหรือคณะกรรมการมูลนิธิและแต่งตั้งคนใหม่แทนในกรณีที่กรรมการหรือคณะกรรมการจัดการผิดพลาดเสื่อมเสีย
          ๑๐. ร้องขอให้ศาลสั่งเลิกมูลนิธิและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
          ๑๑. ร้องขอให้ศาลสั่งจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิที่สิ้นสุดลงให้แก่นิติบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดกับวัตถุประสงค์เดิมของมูลนิธินั้น
          ๑๒.ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนบริษัทที่เลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลายโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามข้อสัญญาหรือข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนบริษัทนั้น
          ๑๓. ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของสมาคมที่ลงมติโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือกฎหมาย
          ๑๔. ขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีกรณีที่มีการเกิดสมาคมและไม่มีผู้ชำระบัญชี
          ๑๕. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นนอกจากสามีหรือภริยาเป็นผู้อภิบาลหรือผู้พิทักษ์กรณีที่มีเหตุสำคัญ
          ๑๖. ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
          ๑๗. ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนเด็กเมื่อศาลส่งคำร้องมาให้ในกรณีที่มีการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
          ๑๘. เด็กอาจร้องขอให้พนักงานอัยการยกคดีขึ้นว่ากล่าวปฏิเสธความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
          ๑๙. ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง
          ๒๐.ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองและร้องขอให้พิสูจน์ว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองเป็นผู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๘๗ เพื่อให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองและมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็น สมควร
          ๒๑. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินหรือแถลงถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์สินของผู้อยู่ในความปกครอง
          ๒๒. ร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง
          ๒๓. ต้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมและเลิกรับบุตรบุญธรรม
          ๒๔. ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมเกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
          ๒๕. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ในกรณีมีมรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต
          ๒๖. ร้องขอให้รัฐบาลให้อำนาจจัดตั้งมูลนิธิเมื่อพินัยกรรมกำหนดไว้
          ๒๗. ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมให้จัดตั้งมูลนิธิให้แก่นิติบุคคลในเมื่อมูลนิธินั้นจัดตั้งขึ้นไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
          ๒๘.ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกตายและทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไปหรืออยู่นอกราชอาณาจักรหรือเป็นผู้เยาว์หรือผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจจะจัดการหรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือในการจัดการหรือในการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือข้อกำหนดพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีผลบังคับ
          ๒๙. เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๒ ห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาแต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทร้องขอ พนักงานอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้
๓๐.ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้จัดการมรดกหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของทายาท ตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น และแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของทายาท
                
อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา
          ๑. ร้องขอให้ศาลกำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิดเสียใหม่ในกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
          ๒.ร้องขอต่อศาลให้สั่งยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยหรือกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่เป็นคุณมากกว่าวิธีการเพื่อความปลอดภัยเดิม เมื่อปรากฎว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการบังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยซึ่งเป็นผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่ผู้ที่จะต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัยหรือนำมาใช้บังคับได้ แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณกว่า
          ๓.ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนหรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ถูกบังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้ชั่วคราว ในกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
          ๔. ร้องขอให้ศาลเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุก
          ๕. ฟ้องขอให้กักกันในกรณีที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดติดนิสัย ทั้งนี้เพื่อควบคุมผู้กระทำความผิดติดนิสัยไว้ในเขตกำหนด เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัยและฝึกหัดอาชีพ
          ๖.เสนอให้ศาลทำทัณฑ์บนบุคคลซึ่งปรากฏว่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือบุคคลซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแต่ศาลไม่ลงโทษผู้ถูกฟ้องถ้ามีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นเพื่อให้ศาลสั่งให้บุคคลนั้น ทำทัณฑ์บนว่าจะไม่ก่อเหตุดังกล่าว
          ๗. มีคำขอต่อศาลขอให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนหรือกำหนดเงื่อนไขที่ยังมิได้กำหนดเกี่ยวกับการคุมประพฤติผู้กระทำความผิดซึ่งศาลพิพากษาว่ามีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้
          ๘. แถลงให้ศาลทราบว่าผู้ที่ได้รับการรอการลงโทษหรือตามคำพิพากษารอการกำหนดโทษไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมความประพฤติดังที่ศาลกำหนดเพื่อศาลจะได้ตักเตือนหรือกำหนดโทษหรือลงโทษที่รอไว้
          ๙. เสนอให้ศาลเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งที่ใช้วิธีการสำหรับเด็กหรือออกคำสั่งใหม่ในกรณีที่เห็นว่าพฤติการณ์ที่เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป 
 
อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
          เป็นอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๑(๑) ว่าในคดีอาญามีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการซึ่งถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการก่ออาชญากรรมอย่างหนึ่ง อันได้แก่ การตรวจวินิจฉัยสำนวนการสอบสวนและการดำเนินคดีในศาลซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่ได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน โดยสำนวนการสอบสวนดังกล่าวพนักงานสอบสวนจะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นทั้งหมดโดยอัยการมิได้เข้าไปเกี่ยวข้องเลยเมื่ออัยการได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนแล้วอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบวินิจฉัยสำนวนการสอบสวน และทำความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
          ๑. ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวนหรือดำเนินการสอบสวนต่อไปก็ได้
          ๒. ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่รู้ตัวว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดไม่ว่าจะจับตัวผู้ต้องหาได้หรือไม่และพนักงานสอบสวนจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ก็ตามอัยการมีอำนาจที่จะสั่งสำนวนการสอบสวนได้ดังนี้
          ก. เมื่ออัยการพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนการสอบสวนยังไม่ชัดเจนพอก็มีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมหรือให้ส่งพยานมาพบอัยการเพื่อซักถามก็ได้
 
          ข. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดหรือการกระทำของผู้ต้องหาไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย อัยการมีอำนาจที่จะสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ถ้ากรณีที่คดีขาด อายุความหรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ อัยการมีอำนาจสั่งยุติการดำเนินคดีได้
 
          ค. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดจริงอัยการมี อำนาจสั่งฟ้องผู้ต้องหา โดยทำคำฟ้องยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลซึ่งภายหลังจากถูกฟ้องต่อศาลแล้วผู้ต้องหาจะถูกเรียกว่าจำเลย ในกรณี ที่จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดหรือจำเลยให้การรับสารภาพแต่คดีดังกล่าวมีอัตราโทษตามกฎหมายให้จำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป อัยการมีหน้าที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยต่อไป เมื่อศาลพิจารณาและมีคำพิพากษาในคดีนั้นอย่างใดแล้ว อัยการไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าวก็มีอำนาจที่จะอุทธรณ์ หรือฎีกาได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีกฎหมายห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา

          ง. ถ้าอัยการพิจารณาสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นว่า คดีนั้นเป็นความผิดซึ่งสามารถทำการเปรียบเทียบปรับได้ เช่น ความผิดลหุโทษ อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบปรับคดีนั้นหรือจะสั่งให้พนักงานสอบสวนอื่นที่มีอำนาจดำเนินการเปรียบเทียบให้ได้ 
 
อำนาจหน้าที่อย่างอื่นของอัยการในการดำเนินคดีอาญา 
          - ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายในคดีใดๆก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาที่ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว
          - ยื่นฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้วแต่ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย เว้นแต่เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว
          - ฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายในคดีอาญาที่ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจาก การกระทำความผิดอาญาในฐานต่างๆอันได้แก่ ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชกทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือรับของโจร โดยเมื่ออัยการยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลจะมีคำขอรวมไปกับคำฟ้องหรือจะยื่นคำร้องขอในระยะเวลาใดๆ ระหว่างคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้น
          - ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหา
          - ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยคนที่ถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายหรือถูกจำคุกผิดจากคำพิพากษาของศาล
          - คัดค้านการให้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ต้องหาหรือถูกฟ้องในความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๑๐ ปี
          - แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีให้ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบ ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่ให้ปล่อยตัวไปหรือขอให้ศาลปล่อยไปแล้วแต่กรณี
          - เข้าร่วมการชันสูตรพลิกศพกับพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และแพทย์ในกรณีที่มีการตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่

                     ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว                        

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการหน่วยงานและจังหวัดสำนักงานอัยการกาฬสินธุ์ <<
 
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<