สอบบรรจุสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

26 ตุลาคม 2564

ผู้ชม 207 ผู้ชม

 
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

อำนาจหน้าที่
        (1) จัดทําแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่จังหวัดลำพูน
        (2) ดําเนินการและให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัด
        (3) กํากับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุข ในเขตพื้นที่จังหวัดลำพูน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย มีการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและ มีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
        (4) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัด ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง
        (5) พัฒนาระบบสารสนเทศ งานสุขศึกษา และการสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพ ในเขตพื้นที่จังหวัดลำพูน
        (6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1. กลุ่มงานบริหารทั่วไป
สนับสนุนให้หน่วยงานย่อย และกลุ่มงานต่างๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.1 งานการเงินและการบัญชี
- ตรวจสอบหลักฐาน และดำเนินการเบิกจ่าย
- จัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามที่กำหนด และเป็นมาตรฐานสากลที่มีการคิดต้นทุนกิจกรรม
1.2 งานบริหารงบประมาณและการเฝ้าระวังทางการเงิน
- วิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการในสังกัด
- ควบคุมการเบิกจ่ายเงิน
1.3 งานตรวจสอบและควบคุมภายใน
- จัดระบบการควบคุมภายใน โดยก่อนดำเนินการให้นำแผนงาน, โครงการที่จะดำเนินงานทั้งหมดมาวิเคราะห์หาจุดเสี่ยงของการดำเนินงาน
- ตรวจสอบการจัดทำบัญชี-การเงิน
- ตรวจสอบพัสดุ
- ตรวจสอบการบริหารที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
1.4 งานพัสดุ ก่อสร้างการซ่อมบำรุง
- วางแผนและดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบพัสดุ เกี่ยวกับ การจัดซื้อจัดจ้าง จ้างเหมา ประกวดราคา ตรวจสอบวัสดุ ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างประจำปี จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เบิกจ่ายวัสดุ ครุภัณฑ์ให้แก่หน่วยงานย่อย และกลุ่มงานต่างๆ
- วางแผนและบำรุงรักษา ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างติดตามผลการก่อสร้างและการจัดซื้อครุภัณฑ์ ในระยะประกัน
- ประเมินค่าเสื่อมราคาของครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง
- ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการถ่ายโอนภารกิจในด้านที่ราชพัสดุ
- อำนวยความสะดวกด้านการจัดประชุม/บริหารการใช้ห้องประชุม
- บริหารการใช้เครื่องมือสื่อสาร และโสตทัศนูปกรณ์
- ดูแลความสะอาดและความปลอดภัยของสำนักงาน
1.5 งานธุรการและงานการบริหารยานพาหนะ
- พิมพ์หนังสือราชการและผลิตเอกสารราชการ
- งานรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ
- งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องหมายตอบแทนแก่บุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ทางราชการ
- การขอรับเงินเพิ่มพิเศษ แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรที่ไม่ทำเวชปฏิบัติ
- บริหารการใช้รถราชการ
1.6 งานสำนักงานเลขานุการและอำนวยการ
- ประสานงานและอำนวยการงานราชการของผู้บริหาร
- รับส่งหนังสือราชการ
- บริหารจัดการหนังสือราชการตามชั้นความลับ
- จัดเก็บและค้นหาหนังสือราชการและเอกสารราชการ
- สำรวจและทำลายหนังสือราชการและเอกสารราชการ
1.7 งานประชาสัมพันธ์
- จัดระบบบริการข้อมูลข่าวสารตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสาร
- ให้และรับข้อมูลข่าวสารแก่เจ้าหน้าที่ หน่วยราชการ ประชาชน สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรต่างๆ
- ตรวจสอบข่าวสารในสื่อมวลชนและรายงานกระทรวงสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้อง
- รับเรื่องร้องทุกข์และประสานการแก้ไขปัญหาเฉพาะราย
- ประมวลเรื่องร้องทุกข์และประสานการแก้ไขเชิงระบบ
 
2. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข
2.1 งานพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาพ
- ประเมินสภาพปัญหาสาธารณสุข สถานการณ์ ระบบบริการสุขภาพ รวมถึงพยากรณ์แนวโน้มสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่
- ประสานและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ
- ประสานและจัดทำจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี
- ประสานและจัดทำจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
- ประสานการจัดทำข้อเสนอ เป้าหมาย ผลผลิตและผลลัพธ์การพัฒนาสุขภาพประจำปี
- ควบคุม กำกับ และวิเคราะห์การใช้งบประมาณ ของจังหวัด และหน่วยงานในสังกัด
- ประสานและบูรณาการแผนกับหน่วยงานอื่น
- ประสานและควบคุม กำกับงาน ตามนโยบายเร่งด่วน ของกระทรวง และจังหวัดลำพูน
2.2 งานข้อมูลข่าวสาร
- วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลสุขภาพเชิงระบบของจังหวัด วิธีการเก็บนิยามของข้อมูล วิธีการวิเคราะห์/สังเคราะห์ ความเชื่อมโยงของข้อมูล
- ประมวลสุขภาวะ, ภาระโรค, ดัชนีชี้วัดด้านสาธารณสุข, ตารางชีพ, สถิติชีพ และสถิติสาธารณสุขต่างๆ ของจังหวัดลำพูน
- ประมวลผลการใช้ทรัพยากร ทั้งด้านทรัพยากรบุคคล และต้นทุนต่างๆ
- ประมวลผลการเผยแพร่ข้อมูลการใช้ประโยชน์ ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งกลับและนำเสนอผลการประมวลผล เพื่อนำไปใช้ระหว่างปี สรุปผลงานประจำปี เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนดำเนินงานในปีต่อไป เผยแพร่ข้อมูลผลการดำเนินงานด้วยช่องทางต่างๆ
2.3 งานนิเทศและประเมินผล
- จัดระบบการประเมินผลการดำเนินงานแต่ละระดับ ตามตัวชี้วัดของผลผลิตและผลลัพธ์ที่มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานร่วมรับผิดชอบ ตามข้อตกลง โดยมีการเชื่อมโยงกับผลตอบแทนประจำปี
- จัดทำแผนการติดตามงาน
- กำหนดข้อมูลที่ใช้ในการติดตามงานและประเมินผลเพื่อนำไปจัดอยู่ในระบบการรวบรวมข้อมูล
- ติดตามงานจากการประมวลผลงานแต่ละงวด
- สรุปผลการดำเนินงานประจำปี และจัดทำรายงานประจำปี
- ประสานการตรวจราชการและนิเทศงานระดับเขต/กระทรวง
- วางแผนการประเมินผลการพัฒนาสุขภาพประชาชนและแผนงาน/โครงการ
- ประเมินผลการพัฒนาสุขภาพประชาชนและแผนงาน/โครงการ
2.4 งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศ งานสาธารณสุขระดับจังหวัดลำพูน เชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนในจังหวัดและข้อมูลการดำเนินงาน สาธารณสุขภายในจังหวัด สำหรับบริการหน่วยงานและประชาชน
- เป็นศูนย์ที่เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลของจังหวัดลำพูน กับศูนย์กลางบริการข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงสาธารณสุข
- พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ เพื่อการเข้าถึงบริการและมีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อลดขั้นตอนและความรวดเร็วในการดำเนินงาน
- การใช้ประโยชน์และเผยแพร่ข้อมูล ดำเนินการเกี่ยวกับ ส่งกลับและนำเสนอผลการประมวลผลเพื่อการนำไปใช้ระหว่างปี สรุปผลงานประจำปี ตามดัชนีชี้วัดด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนดำเนินงานในปีต่อไป เผยแพร่ข้อมูล ผลการดำเนินงานด้วยช่องทางต่าง ๆ
- การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการเกี่ยวกับ พัฒนาระบบ Hardware Software คู่มือการใช้โปรแกรม นิเทศติดตามสถานบริการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บริหารจัดการระบบเครือข่าย
2.5 งานสาธารณสุขพื้นที่พิเศษ/พื้นที่เฉพาะ
ยังไม่มีข้อมูล รอประสานจังหวัดชายแดน
2.6 งาน พรบ.ข้อมูลข่าวสาร
- ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
2.7 งานกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
2.8 งานวิจัย
- การจัดทำแผนงานและแนวทางด้านการวิจัยด้านสุขภาพในระดับจังหวัดลำพูน
- การส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านวิจัยและวิชาการในระดับจังหวัดลำพูน
- การควบคุมกำกับติดตามและประเมินผลทางด้านวิจัยและวิชาการ
- การให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงานวิจัยและวิชาการ
- ดำเนินงานศึกษาวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่
- ร่วมดำเนินงานศึกษาวิจัยในพื้นที่กับหน่วยงาน/ส่วนราชการต่างๆ
2.9 งานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา
- เฝ้าระวังโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
- จัดทำรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำวัน (เฉพาะบางโรคและบางคราวที่มีการระบาด) ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ประจำปี และเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
- เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเตือนภัยแก่ผู้เกี่ยวข้อง
- ควบคุม กำกับ ประเมินผล การดำเนินงานระบาดวิทยาของจังหวัดลำพูน
- พัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
- ศึกษาวิจัย และส่งเสริมนวัตกรรมทางด้านระบาดวิทยา
 
3. กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ
3.1. งานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มอายุ ได้แก่
3.1.1 งานอนามัยแม่และเด็ก ประกอบด้วย
- การดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดและหลังคลอด
- การดูแลสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียน
- การเฝ้าระวังและควบคุมโรคธารัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์
- การส่งเสริมการได้รับสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์
- การป้องกันภาวะปัญญาอ่อนจากภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนและฟีนิลคีโตน ยูเรีย
- การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- การส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 0 - 5 ปี
- การพัฒนาระบบบริการคุณภาพโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว
- การประเมินโรงพยาบาลตามมาตรฐานโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว
- การพัฒนาศักยภาพชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว
- การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก
3.1.2 งานอนามัยเด็กวัยเรียนและเยาวชน ประกอบด้วย
- การดูแลและให้บริการสุขภาพหญิงวัยเรียนและเยาวชน
- การพัฒนาโรงเรียน ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
- การพัฒนาศักยภาพเด็กวัยเรียน ตามแนวทางเด็กไทยทำได้
- การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนและเยาวชนในสถานศึกษา
- การดูแลสุขภาพนักเรียนและเยาวชนในสถานศึกษา
3.1.3 งานพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน ประกอบด้วย
- การรณรงค์การส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทำงานในสถานประกอบการ
- การส่งเสริมสุขภาพสตรีและชายวัยทอง
- การดูแลและให้บริการสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์
3.1.4 งานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย
- การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
- การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ
- การจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุและบริการทางด่วนสำหรับผู้สูงอายุ
- การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care)
3.1.5 งานส่งเสริมสุขภาพประชาชนทั่วไป ประกอบด้วย
- การพัฒนาวัด ตามเกณฑ์มาตรฐานวัดส่งเสริมสุขภาพ
- การพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
3.2 งานส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ได้แก่
3.2.1 การพัฒนาศักยภาพผู้นำการออกกำลังกาย
3.2.2 การส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเด็กไทยแข็งแกร่ง “ Youth Exercise ขยับกายก่อนเข้าเรียน”
3.2.3 การส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในชุมชน
3.2.4 การรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามโครงการภาคีร่วมใจ คนไทยไร้พุง
3.3. งานส่งเสริมภาวะโภชนาการ
- การรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามโครงการภาคีร่วมใจ คนไทยไร้พุง และโครงการจังหวัดไร้พุง มุ่งสู่สุขภาพดี
- การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0 – 5 ปี
- การควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ6 เดือน – 3 ปี
- การเฝ้าระวังและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในนักเรียนชั้นประถมศึกษา
- การสำรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือน
- การส่งเสริมการบริโภคผักในเด็กวัยเรียนและเยาวชนในสถานศึกษา
- การเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนและเยาวชนในสถานศึกษา
- การรณรงค์สร้างกระแสการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ
3.4 งานอนามัยการเจริญพันธุ์
-งานสนับสนุนการวางแผนครอบครัว
-งานพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพ (คลินิกวัยทอง)
-งานส่งเสริมงานอนามัยการเจริญพันธุ์ทุกกลุ่มอายุ
3.5 งานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม
3.5.1 การส่งเสริม สนับสนุน การปรับปรุงและพัฒนาสภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนหน่วยงาน สถานที่ และสถานประกอบการต่างๆ
- การพัฒนาสภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในตลาดสดประเภทที่ 1 ตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ
- การพัฒนาสภาพการสุขาภิบาลอาหารในร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
- การพัฒนาสภาพการสุขาภิบาลอาหารในร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐานเมนูชูสุขภาพ
- การพัฒนาสภาพการสุขาภิบาลอาหารในร้านอาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐานร้านอาหาร 5 ดาว
- การพัฒนาสภาพการสุขาภิบาลอาหารในร้าน/แผงลอยจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว ตามเกณฑ์มาตรฐานก๋วยเตี๋ยวอนามัย ส่งเสริมคนไทยสุขภาพดี
- การพัฒนาส้วมสาธารณะใน 13 Setting ตามเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะ (HAS)
- การพัฒนาหน่วยงาน สถานที่ และสถานประกอบการตามเกณฑ์มาตรฐาน สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน (Healthy Work Place)
- การพัฒนาสภาพการสุขาภิบาลครัวเรือน ตามเกณฑ์มาตรฐาน บ้านน่าอยู่ คู่ครอบครัวไทย
- การพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามเกณฑ์มาตรฐาน ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่
- การพัฒนาระบบประปา ตามเกณฑ์มาตรฐานประปาดื่มได้
- งานอนามัยเรือนจำ
3.5.2 การพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวทางการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพประกอบด้วย
- ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
- การจัดการของเสีย/สิ่งปฏิกูลชุมชน
- งานตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
3.5.3 การตรวจประเมินมาตรฐานครัวเรือน หน่วยงาน สถานที่ และสถานประกอบการ ตามมาตรฐานที่กำหนดในแต่ละประเภท
3.6 งานประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
3.6.1การประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นเครื่องมือสำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535
3.6.2 การประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นเครื่องมือสำหรับการป้องกันปัญหาการประกอบกิจการที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3.7 งานตามพรบ.สาธารณสุข 2535
3.7.1 การถ่ายทอดความรู้ เสนอแนะ ให้คำแนะนำ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบังคับใช้กฎหมาย ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535
3. 7.2 การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
3.8 งานยาเสพติด
3.8.1 การเสริมสร้างภาคีเครือข่ายด้านการบำบัด รักษา ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
3.8.2 การพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
3.8.3 การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
3.8.4 การเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยยาเสพติด
3.8.5 การดูแล ควบคุม กำกับการจัดสรรและเบิกจ่ายงบประมาณตามที่ได้รับการสนับสนุน
3.8.6 การดูแล ควบคุม กำกับระบบรายงานผู้ป่วยยาเสพติด
3.8.7 การตรวจสอบคุณภาพระบบรายงานยาเสพติดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
3.9 งานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
3.9.1 การส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคนพิการ
3.9.2 การค้นหา รักษา และการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพคนพิการ
3.9.3 การจัดบริการสุขภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ
3.9.4 การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมถึงการให้สวัสดิการในด้านต่างๆ
3.9.5 การพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลคนพิการ
3.9.6 การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริม/พัฒนา/ค้นหา/รักษา/บำบัดและฟื้นฟูสุขภาพคนพิการ
 
4. กลุ่มงานควบคุมโรค
4.1 งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไป
4.1.1งานป้องกัน ควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ
- ประสานการดำเนินงานกับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน เพื่อการป้องกัน ควบคุมโรค
- จัดหาและสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน ควบคุมโรคให้หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง
-บันทึก On hand ผ่านระบบ VMI เรื่องวัสดุ เวชภัณฑ์ฯ ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
- ควบคุม กำกับ และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เตรียมความพร้อมควบคุมการระบาดฉุกเฉิน
- จัดประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก
- ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมพร้อมควบคุมการระบาดไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่
- ซ้อมแผนเตรียมพร้อมรองรับการควบคุมการระบาดไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ ระดับจังหวัด
- ฝึกอบรม ให้คำปรึกษา ข้อแนะนำในการปฏิบัติงานฯ แก่เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ ตำบล
- สอบสวนและควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานทุกระดับในที่ที่เกิดการระบาดของโรค ตามแนวทางการควบคุมโรค
- สนับสนุนสื่อ สิ่งพิมพ์ แก่กลุ่มประชากรเป้าหมาย ผ่านทางโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
- เป็นวิทยากรให้ความรู้ แก่หน่วยงานและสถานประกอบการ
- นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน ควบคุมโรคของสถานบริการ/โรงพยาบาล
4.1.2 งานโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ
- ประสานการดำเนินงานกับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์เผยแพร่ความรู้เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค
-จัดหาและสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน ควบคุมโรคให้หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง
-สนับสนุนสื่อ สิ่งพิมพ์ แก่กลุ่มประชากรเป้าหมาย ผ่านทางโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
- สอบสวนและควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานทุกระดับในที่ที่เกิดการระบาดของโรค ตามแนวทางการควบคุมโรค
- รวบรวม และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.1.3 งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
- จัดทำเป้าหมายความต้องการจากการรวบรวมความต้องการวัคซีนของหน่วยบริการสาธารณสุข และประสานเบิกจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค
- จัดทำคลังวัคซีนรับวัคซีนจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค และดำเนินการจัดสรรให้โรงพยาบาลทุกแห่ง (เป็นคลังวัคซีนในแต่ละอำเภอ)
- การประสานงานทุกพื้นที่ในการตั้งเป้าหมายวัคซีน OPV กำหนดพื้นที่รณรงค์ OPV ในพื้นที่ โดยมีการรณรงค์ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือน ธันวาคม และเดือน มกราคม ของปี พร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลจัดทำรายงานและส่งต่อให้ส่วนกลางในแต่ละครั้งของการดำเนินงาน
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เก็บรวบรวมจำนวนเป้าหมายตั้งเป็นยอดเป้าหมายกเสนอขอการสนับสนุนจากส่วนกลาง และจัดสรรในรายโรงพยาบาล โดยมีการดำเนินการประสานยอดการจัดสรรที่ได้รับตอบกลับตามโรงพยาบาล และส่งตามระบบ VMI ของโรงพยาบาล
- สำรวจความต้องการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและรวบรวมเพื่อขอการสนับสนุนจากส่วนกลาง
-แจ้งประสานพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A H1N1 2009 และรวบรวมความต้องการ และเสนอขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง เมื่อได้รับทราบยอดแล้วแจ้งพื้นที่ทราบ
-จัดประสานพื้นที่เพื่อขอข้อมูลผู้ดูแลระบบวัคซีนตามระบบ VMI เพื่อรวบรวมส่งข้อมูลให้ส่วนกลางเพื่อออกทะเบียนผู้ใช้ รหัสผ่านและเลขพินเข้าระบบ
-จัดทำทะเบียนระบบ VMI ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และดูแลตรวจสอบระบบ VMI ของเครือข่ายในจังหวัดลำพูน
-จัดหาและคงคลังวัคซีนกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
- จัดทำการประมาณการใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยจัดสรรวัคซีนตามการตัดเงินของแต่ละโรงพยาบาล พร้องทั้งควบคุมจำนวนการเบิกจ่ายวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
4.2 งานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่เฉพาะ
4.2.1 งานป้องกัน ควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ
- จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อการป้องกัน ควบคุมโรค ประสานการดำเนินงานกับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน
- สนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน ควบคุมโรคให้หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง
- ควบคุม กำกับ และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เตรียมความพร้อมควบคุมการระบาดฉุกเฉิน จัดประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก
- จัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมพร้อมควบคุมการระบาดไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่
- ซ้อมแผนเตรียมพร้อมรองรับการควบคุมการระบาดไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ ระดับจังหวัด
- สอบสวนและควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานทุกระดับในที่ที่เกิดการระบาดของโรค ตามแนวทางการควบคุมโรค
- สนับสนุนสื่อ สิ่งพิมพ์ แก่กลุ่มประชากรเป้าหมาย
- ให้ความรู้ แก่หน่วยงานและสถานประกอบการ
- นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน ควบคุมโรคของสถานบริการ/โรงพยาบาล
4.2.2 งานควบคุมโรคเอดส์และกามโรค
- ประสานและสนับสนุนวิชาการด้านเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ติดตามประเมินผล
- ศึกษาวิจัย/จัดทำฐานข้อมูล/ระบาดวิทยาโรคเอดส์
- ประสานการดำเนินงานศูนย์ประสานประชาคมเอดส์จังหวัด:ศปอจ.(ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลก )
4.2.3 งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
- การดำเนินการป้องกันควบคุมโรค
1.โรคเลปโตสไปโรซิส
2.โรคพิษสุนัขบ้า
3.โรคแอนแทรก
4.โรคสเต็ปโตคอคคัส ซูอิส
5.โรคอื่น ๆ ที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน
- การสนับสนุนงานโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่นเอกสาร แผ่นพับ แผ่นปลิว โปสเตอร์
อุปกรณ์ในการป้องกันควบคุมโรค เช่น รองเท้าบูท , ถุงมือ ,ฯลฯ
4.2.4 งานป้องกันโรคหนอนพยาธิ
- ประสานพื้นที่ดำเนินงานหนอนพยาธิในโรงเรียน
- ประสาน ส่งสิ่งส่งตรวจ/ยาและชุดตรวจหนอนพยาธิให้กับพื้นที่ดำเนินการ
- รวบรวมจัดเก็บรายงานผลการดำเนินงาน
- ติดตามประเมินผลการการดำเนินการระบบคลังวัคซีนและลูกโซ่ความเย็น
- ติดตามประเมินผลการดำเนินงานระบบ VMI
- ติดตามประเมินผลการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
- ติดตามและสุ่มพื้นที่การดำเนินงานรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอ
4.2.5 งานวัณโรค
- ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมวัณโรคในระดับจังหวัด
- ติดตามและประเมินผลงานควบคุมวัณโรคในจังหวัด
- จัดทำทะเบียนวัณโรคระดับจังหวัด จัดทำรายงาน การค้นหาผู้ป่วยวัณโรค รายงานผลเสมหะปราศจากเชื้อเมื่อสิ้นสุดระยะเข้มข้น รายงานผลการรักษา และรายงานการดำเนินงานผสมผสานวัณโรคและโรคเอดส์ ของจังหวัด ให้ผู้ประสานงานระดับเขต
- จัดประชุม DOT MEETING 4 ครั้งต่อปี
- ประสานงานควบคุมวัณโรคภายในและภายนอกจังหวัดและระหว่างหน่วยงานรัฐ
- เฝ้าระวัง รวบรวมวิเคราะห์ปัญหาวัณโรคในระดับพื้นที่กาฬสินธุ์
- รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลวัณโรค
- พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและเครือข่ายการเฝ้าระวังด้านวัณโรค
4.2.6 งานโรคเรื้อน
- เฝ้าระวัง รวมรวมวิเคราะห์ปัญหาโรคเรื้อนในระดับพื้นที่
- ประสานงานควบคุมโรคเรื้อนภายใน ภายนอกจังหวัดและระหว่างหน่วยงานภาครัฐและอื่นๆ
- ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมป้องกันโรคเรื้อน
- ติดตามและประเมินผลงานควบคุมโรคเรื้อนในจังหวัดลำพูน
- ประสานและสนับสนุนยารักษาโรคเรื้อนให้กับพื้นที่
4.2.7 โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก(ARIC)
- ประสานงานควบคุมโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก(ARIC) ภายในจังหวัดและภายนอกจังหวัดลำพูน
- สนับสนุนการจัดรณรงค์ ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนทั่วไป
- นิเทศ กำกับติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก(ARIC)
4.2.8 งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง
1. งานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
2. งานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรีย
3. งานป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบ
4. งานป้องกันควบคุมโรคเท้าช้าง
4.3 งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ
- ดำเนินงานควบคุม กำกับงานตามนโยบายการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งอื่นๆ
- ถ่ายทอดนโยบายการดำเนินงานดังกล่าว แก่ หน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐและเอกชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย เทศบาล เพื่อการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นแนวทาง การดำเนินงานที่ได้ มาตรฐานเดียวกัน
- จัดทำแผนงานในการลดปัญหาโรคไม่ติดต่อ ในระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด
- ดำเนินงานเพื่อควบคุมโรคไม่ติดต่อให้ครอบคลุม
- เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำช่วยเหลือ สร้างขวัญกำลังใจ
- ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน นำเสนอปัญหาต่อผู้บริหารเพื่อวางแผนแก้ไข
- สนับสนุนดำเนินการรณรงค์ การตรวจตัดกรองโรคไม่ติดต่อ
- จัดทำคู่มือ /แนวทางการดำเนินงาน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข
- พัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบรายงาน ระบบติดตาม และระบบเฝ้าระวังปัญหาโรคไม่ติดต่อ
- สรุปผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันไม่ติดต่อประจำปีงบประมาณ
- ศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีพัฒนารูปแบบวิธีการดำเนินงาน และนวัตกรรม เพื่อควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ
- นิเทศ ติดตามการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อระดับตำบล อำเภอ
- พัฒนาบุคลากรในการดำเนินงานการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ
4.4 งานอาชีวอนามัยและควบคุมโรคจากสิ่งแวดล้อม
4.4.1 งานอาชีวอนามัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- ดำเนินการงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล
- พัฒนาโรงพยาบาลผ่านเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินงาน
4.4.2 งานอาชีวอนามัยในโรงงานอุตสาหกรรม
- สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการงานอาชีวอนามัยและโรคจากการทำงาน และการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานและการตรวจสุขภาพพนักงาน
4.4.3 งานอาชีวอนามัยในแรงงานนอกระบบ
- ประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบ
- ให้ความรู้และจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน
4.4.4 งานควบคุมโรคจากสิ่งแวดล้อม
- ประสานข้อมูลสภาพสิ่งแวดล้อมกับหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม
- ติดตามสถานการณ์โรคจากสิ่งแวดล้อม
4.5 งานควบคุมการบริโภคบุหรี่และสุรา
- นิเทศงานเฝ้าระวัง สุ่มตรวจ/ตรวจเตือนและบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ
- การติดตามประเมินผลสถานที่ราชการเป็นเขตปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบหน่วยงานระดับอำเภอ/ตำบล
- จัดทำฐานข้อมูลสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบและสถานที่สาธารณะที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่และห้ามบริโภค ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน ประสานงานควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เฝ้าระวัง สุ่มตรวจ/ตรวจเตือนและบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ
- รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดยผ่านสื่อต่างๆและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- สนับสนุนสื่อในการรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.6 งานสอบสวนโรค(SRRT)
- ดำเนินงานตามนโยบาย แนวทางในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรค
- .อำนวยการ ควบคุม กำกับ ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา
- เป็นศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาในจังหวัด
- เป็นศูนย์การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวน ป้องกัน ควบโรค และภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาในจังหวัด
- ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในด้านต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วเพื่อ การสอบสวน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค
- ตรวจสอบ ยืนยันข้อมูลการวินิจฉัยโรคจากหน่วยงานที่พบผู้ป่วยและแจ้งทีม SRRT พื้นที่ที่พบผู้ป่วย
- ยืนยันการการระบาดโดยวิเคราะห์ข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและสถานการณ์โรค
- การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ ในกรณีต้องดำเนินการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์สารเคมีสำหรับควบคุมป้องกันโรคและแบบสอบสวนโรค
- ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และผู้สัมผัสโรค
- รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลพื้นฐาน , ประวัติการรับเชื้อ , ประวัติการเดินทางของผู้ป่วย , คนในครอบครัวและคนในละแวกเดียวกัน
- สรุปลักษณะรูปแบบการระบาดของโรคว่าเป็น ชนิดรายเดี่ยว , ครอบครัว และกลุ่มใหญ่ในพื้นที่ที่มีการระบาด
- เก็บวัสดุตัวอย่างสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อจากผู้ป่วย ผู้สัมผัส สิ่งแวดล้อม เพื่อค้นหาแหล่ง โรครังโรค
- แจกจ่ายยา เวชภัณฑ์และเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยาที่ใช้ในการควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่ ที่มีการระบาด
- ปฏิบัติงานทั้งในและนอกเวลาราชการ (ตามคำสั่งปฏิบัติงานอยู่เวรนอกเวลาและวันหยุดราชการ)
- การพัฒนาทีม SRRT ทุกระดับตั้งแต่ระดับจังหวัด จนถึง พื้นที่ ในการป้องกันควบคุมโรค
4.7 งานบริการแพทย์ฉุกเฉิน
- อบรมและขึ้นทะเบียนอาสาสมัครกู้ชีพ กู้ภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัด
- จัดทำแผนงาน เพื่อพัฒนางานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัด
- รายงานและสรุปสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนน เสนอคณะกรรมการแก้ไขปัญหาอุบติเหตุจราจร ของจังหวัดฯ
- พัฒนาระบบสื่อสารงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินทั้งภาครัฐและเอกชน
- ประสานการฝึกซ้อมแผนอุบัติเหตุ-ภัยพิบัติกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำพูน
- สอบสวนและสรุปสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุหมู่ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอศูนย์ความปลอดภัยทางถนนระดับจังหวัดลำพูน
 
5. กลุ่มงานประกันสุขภาพ
5. 1 งานลงทะเบียนผู้มีสิทธิ  มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. การบริหารระบบการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ
1.1 วิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนการดำเนินงานการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ และจัดระบบรายงานการลงทะเบียนผู้มีสิทธิภายในจังหวัด
1.2 จัดระบบการลงทะเบียนผู้มีสิทธิในจังหวัดลำพูน โดยกำหนดจุดรับคำร้อง และหน่วยรับ
ลงทะเบียนภายในจังหวัดให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางที่ได้รับ
1.3 บริหารข้อมูลประชากรจังหวัด (DBPOP) ที่ได้รับจาก สปสช.สาขาเขตพื้นที่ และบริหารระบบสารสนเทศในระบบหลักประกันสุขภาพของหน่วยรับลงทะเบียนภายในจังหวัด
1.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีนวัตกรรมและการพัฒนารูปแบบการลงทะเบียนของหน่วยรับลงทะเบียนในจังหวัดลำพูน
1.5 พัฒนาและจัดระบบการลงทะเบียนของหน่วยรับลงทะเบียนให้มีประสิทธิภาพ
1.6 แต่งตั้งและจัดทำทะเบียนรายชื่อนายทะเบียนของหน่วยรับลงทะเบียนและออกบัตร
ในจังหวัด
1.7 ประชาสัมพันธ์และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในหน่วยรับลงทะเบียนและประชาชนภายในจังหวัด
2. การตรวจสอบและประเมินผลระบบการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ
2.1จัดทำสถิติและรายงานแยกประเภทที่เกี่ยวข้องกับงานการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ ในระดับจังหวัดลำพูน
2.2 จัดให้มีการ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การลงทะเบียนผู้มีสิทธิของหน่วยรับ
ลงทะเบียน ภายในจังหวัด
2.3 นิเทศ ติดตาม สนับสนุนตลอดจน แก้ไขปัญหาการลงทะเบียนและออกบัตรของผู้มีสิทธิในหน่วยรับลงทะเบียนภายในจังหวัด
5.2 งานตรวจประเมินหน่วยบริการเพื่อการขึ้นทะเบียน  มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. การบริหารจัดการระบบการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
1.1 พัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการภายในจังหวัดลำพูน
2. การจัดทำบัญชีรายการหน่วยบริการและจัดเครือข่ายหน่วยบริการและระบบส่งต่อ
2.1 จัดทำบัญชีรายการหน่วยบริการในจังหวัดให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน
2.2 จัดส่งข้อมูลให้ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ทุกปี และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
3. การประกาศและประชาสัมพันธ์
3.1ช่วยประชาสัมพันธ์และชี้แจงหลักเกณฑ์/แนวทางการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
ให้กับหน่วยบริการในจังหวัดลำพูน
3.2 ประชาสัมพันธ์และให้ประชาชนเลือกหน่วยบริการตามบัญชีรายการของจังหวัด
4. การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและการทำข้อตกลง/สัญญา
4.1รับสมัครหน่วยบริการที่ขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานฯ สาขาจังหวัดลำพูน เพื่อการส่งข้อมูลต่อให้สำนักงานสาขาเขตพื้นที่ทำการตรวจประเมิน
4.2 ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจประเมินหน่วยบริการและ/หรือช่วยคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นกรรมการตามที่ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ต้องการ
5. การควบคุม กำกับประเมินผลการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการตามระบบการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
5.1 การติดตามและประเมินผลการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการตามข้อตกลง/สัญญากับหน่วยบริการภายในจังหวัดลำพูน
5.3 งานควบคุมกำกับคุณภาพหน่วยบริการ  บทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. เฝ้าระวังและติดตามข้อมูลด้านคุณภาพหน่วยบริการ
1.1รวบรวม/วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพบริการของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ ภายในจังหวัด
2. การควบคุม กำกับคุณภาพหน่วยบริการในเขตพื้นที่และเครือข่ายหน่วยบริการในพื้นที่
2.1รวบรวม/วิเคราะห์ ข้อมูลด้านคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการของจังหวัดตามแนวทางที่กำหนด
2.2 บริหารจัดการโครงการตามนโยบายส่วนกลาง/เขต เพื่อควบคุมกำกับคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ ภายในจังหวัดลำพูน
2.3 จัดทำและบริหารโครงการเพื่อการควบคุมกำกับคุณภาพหน่วยบริการและบริการสาธารณสุขภายในจังหวัด เช่น
- วางแผนการออกตรวจเยี่ยมกับอนุกรรมการควบคุมคุณภาพฯ
- ร่วมตรวจเยี่ยม เพื่อควบคุม กำกับคุณภาพหน่วยบริการกับส่วนกลางและเขตพื้นที่
- การเก็บข้อมูล เช่นตัวชี้วัด ความพึงพอใจ เรื่องร้องเรียน
2.4 การประเมินและรายงานผลการควบคุมคุณภาพหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการของจังหวัดลำพูน
2.5 จัดการเรื่องร้องเรียนด้านคุณภาพและปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะอนุกรรมการควบคุม คุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข และรายงานผล
3. การรายงานผลการดำเนินงาน
3.1 การรายงานผลการส่งเสริม ตรวจตรา และควบคุม กำกับ คุณภาพหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการของจังหวัดต่อสำนักงาน สปสช.สาขาเขตพื้นที่
5.4 งานส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและเครือข่ายภาคประชาชน  มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
- การกำหนดนโยบายการมีส่วนร่วม
จัดทำแผนกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของภาคท้องถิ่นและภาคประชาชนในระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนระดับเขตตามนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- การประสานจัดกิจกรรมและจัดทำฐานข้อมูลการมีส่วนร่วม
ร่วมกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยน/ระดมความคิดเห็นของ อปท, สมาคมวิชาชีพ, ประชาชนและสำนักงานฯ สาขาจังหวัด เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่
- การประสานความร่วมมือ และสนับสนุน กิจกรรมการมีส่วนร่วมของ อปท, สมาคมวิชาชีพ และประชาชนในระดับจังหวัดลำพูน จัดทำฐานข้อมูลของ อปท., สมาคมวิชาชีพ และองค์กรประชาชนในจังหวัด
- การประชาสัมพันธ์และการสร้างความรู้ความเข้าใจ
ดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูลและสร้าง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับจังหวัดลำพูน ดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูล และสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ระเบียบและแนวทางปฏิบัติแก่หน่วยบริการในจังหวัดลำพูน
- การพัฒนาและการสนับสนุนการพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน (Model Development)
ร่วมกำกับติดตามการสนับสนุนให้ อปท.และสมาคมวิชาชีพ พัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในด้านต่าง ๆ
- การรายงานและการประเมินผล
ร่วมกำกับ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานในจังหวัด และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ให้เขตพื้นที่ทราบ
5.5 งานคุ้มครองสิทธิ การรับเรื่องร้องเรียน  มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. การบริหารจัดการระบบ
1.1 การบริหารจัดการให้หน่วยบริการทุกประเภทมีการให้บริการรับและแก้ไขเรื่องร้องเรียน
1.2 การสร้างระบบ/กลไกการคุ้มครองสิทธิของผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพจังหวัด
1.3 การประสานงานกับคณะอนุกรรมการเพื่อให้มีการพิจารณาช่วยเหลือมาตรา 41
และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการตามหลักเกณฑ์/ข้อบังคับของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและรายงานให้สาขาเขตพื้นที่ทราบ
1.4 การจัดจุดรับบริการ(Counter Service) เพื่อรับและแก้ไขเรื่องร้องเรียนและการให้บริการ ข้อมูลด้านหลักประกันสุขภาพในระดับจังหวัดลำพูน
1.5 การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนและจัดตั้งเครือข่ายประชาชนในระดับจังหวัดลำพูน
2. การประชาสัมพันธ์
2.1 การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าสารให้กับประชาชนผู้มีสิทธิในจังหวัดลำพูน
2.2 การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับหน่วยบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. การสนับสนุนและพัฒนาระบบ
3.1 การสนับสนุนด้านการฝึกอบรมบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองสิทธิ/การรับเรื่องร้องเรียน/การประชาสัมพันธ์และพัฒนาแกนนำครู ข. ให้ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัด
3.2 การให้คำปรึกษาและการแก้ไขปัญหาแก่หน่วยบริการในจังหวัดลำพูน
3.3 การสนับสนุนและเข้าร่วมการจัดเวทีประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ร่วมกับสำนักสาขาเขตพื้นที่
4. การประเมินผลการดำเนินงานและประเมินความพึงพอใจระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
4.1 การวิเคราะห์ข้อมูลการร้องเรียนด้านการคุ้มครองสิทธิ/การรับเรื่องร้องเรียนจัดระบบการให้ ข้อมูลป้อนกลับแก่หน่วยบริการในจังหวัด (Feed Back) แก่หน่วยบริการในจังหวัด
4.2 การรายงานผลการดำเนินงานตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่กำหนด
5.6 งานบริหารการชดเชยและการตรวจสอบเวชระเบียน  มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. การกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบเวชระเบียน
1.1 ศึกษาเกณฑ์การตรวจสอบเวชระเบียน ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพกำหนด
2. การบริหารการชดเชยค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
2.1 ศึกษาหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
2.2 จัดระบบการจัดทำข้อมูลของจังหวัดเพื่อรองรับระบบการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
2.3 บริหารการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อการบริการสาธารณสุขให้กับหน่วยบริการตาม
หลักเกณฑ์ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดOPD , ค่าตรวจพิเศษ ภายในจังหวัดและส่วนต่าง HC นอกจังหวัด
2.4 ชี้แจงและตอบปัญหาหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินค่าบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการในพื้นที่สาขาจังหวัดลำพูน
3. การตรวจสอบเวชระเบียน การพัฒนาสนับสนุน และติดตามกำกับ
3.1จัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบเวชระเบียนระดับจังหวัดตามองค์ประกอบที่สำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
3.2 บริหารจัดการและประสานคณะทำงานตรวจสอบเวชระเบียนให้มีการดำเนินการภายใต้เงื่อนไขฯ ที่กำหนด
3.3 ควบคุม กำกับ ให้คณะทำงานตรวจสอบเวชระเบียน ดำเนินการตรวจสอบการให้รหัสโรคและหัตถการ (Coding Audit) และตรวจสอบคุณภาพการรักษา (Clinical Audit) ภายใต้เงื่อนไขฯ ที่กำหนด
3.4 บริหารจัดการและประสานให้คณะทำงานตรวจสอบเวชระเบียน สรุปผลการ
ตรวจสอบ และแจ้งหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง ภายใต้เงื่อนไขฯ ที่กำหนด
5.7 งานบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม
1. กองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ ( PPAreabase ) มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1.1 จัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของจังหวัด โดยผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพจังหวัดลำพูน
1.2 บริหารจัดการให้มีการดำเนินงานตามโครงการ
1.3 รายงานผลการปฏิบัติงานให้ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ทราบทุก 3 เดือน
2. กองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน (PP Community) (กองทุนตำบล) มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
2.1 จัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของจังหวัด
2.2 บริหารจัดการให้มีการดำเนินงานตามโครงการ
2.3 รายงานผลการปฏิบัติงานให้ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ทราบทุก 3 เดือน
3. กองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในสถานบริการ (PP Express Demand) มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
3.1 จัดทำ/รวบรวมเป้าหมายของการให้บริการแต่ละกิจกรรมของหน่วยบริการเพื่อส่งให้
สปสช.เขตพื้นที่
3.2 ติดตาม/สนับสนุนให้หน่วยบริการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวบรวมรายงานผลการให้บริการตามแบบรายงาน Composite Indicator 2 ครั้ง / ปี ( มิ.ย. / ก.ย.)
4. กองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มข้าราชการ มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
4.1 รับสมัครหน่วยบริการที่มีความพร้อมเข้าร่วมตรวจสุขภาพข้าราชการ และจัดให้มีการตรวจคัดกรองสุขภาพเพื่อค้นหาความเสี่ยง
4.2 ดำเนินการเชิญชวนให้กลุ่มเสี่ยงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรายงานผลให้ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ พิจารณา
5. กองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มประกันสังคม มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
5.1 ดำเนินการร่วมกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัด ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยบริการเข้าร่วมโครงการตรวจคัดกรองเชิงรุก
5.2 จัดสรรกลุ่มเป้าหมายให้กับหน่วยบริการตามความเหมาะสม
5.3 ร่วมกับ สปสช.เขตพื้นที่ เพื่อจัดให้มีสถานบริการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5.4 ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีสิทธิประกันสังคมเข้ารับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามที่กำหนด ( คุมกำเนิด, ฝากครรภ์, ตรวจหลังคลอด กรณีที่ยังจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 7 เดือน)
5.5 รายงานผลการดำเนินงานให้ สปสช.สาขาเขตพื้นที่กาฬสินธุ์
6. การจัดสรรงบค่าบริการทางการแพทย์ (เหมาจ่ายรายหัว) มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
6.1 พิจารณาจัดสรรงบค่าบริการทางการแพทย์ (เหมาจ่ายรายหัว) ตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข ที่คณะกรรมการกำหนด
6.2 แจ้งผลการพิจารณาจัดสรรค่าบริการทางการแพทย์(เหมาจ่ายรายหัว) ไปที่
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อโอนเงินให้กับหน่วยบริการโดยตรง
6.3 บริหารจัดการงบส่วนที่กันไว้ที่จังหวัด สำหรับการตามจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน และการส่งต่อ
7. การควบคุมกำกับการเบิกจ่ายกองทุน มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
7.1 ติดตาม ควบคุม กำกับรายรับ รายจ่ายเงินกองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน(PP Community), กองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในสถานบริการ(PP Express Demand), กองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มข้าราชการ, กองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มประกันสังคม และงบค่าบริการทางการแพทย์ในส่วนที่กันไว้บริหารจัดการโดยจังหวัดลำพูน
5.8 งานสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ  มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1.การสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการฯ ระดับจังหวัด
1.1 ดำเนินการสรรหาบุคคลเพื่อเข้าเป็นคณะอนุกรรมการฯ
1.2 จัดประชุมคณะอนุกรรมการฯ ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
1.3 ทำหน้าที่เป็น เลขานุการของคณะอนุกรรมการฯ และการนำมติ หรือแนวทางไปใช้ในการบริหารจัดการตามภารกิจของสำนักงานฯ สาขาจังหวัดลำพูน
1.4 คัดเลือกคณะอนุกรรมการฯ ของจังหวัดที่ครบวาระตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
1.5 สนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ จังหวัดในด้านการให้ข้อมูล และ
การให้คำปรึกษาเพื่อการแก้ไขปัญหา
1.6 ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะ โดยสรุปสาระสำคัญส่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่ผ่านระบบ Data Center ตามระยะเวลาที่กำหนด
2. การสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ระดับเขต
2.1 เสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการฯ
2.2 เข้าร่วมประชุมตามกำหนดในกรณีที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการฯ
2.3 นำมติ หรือแนวทางจากที่ประชุมไปใช้ในการบริหารจัดการตามภารกิจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาจังหวัดลำพูน
3. การประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาจังหวัดลำพูน
3.1 ร่วมเป็นคณะกรรมการในการวางแผนและวางระบบในการประเมินผลงานการตรวจสอบผลการดำเนินงานของสำนักงานฯ สาขาจังหวัด
3.2 ปฏิบัติงานตามภารกิจ บันทึกข้อมูลการดำเนินงาน และเก็บหลักฐานการดำเนินงานตามคู่มือการติดตามกำกับการประเมินสำนักงานสาขาจังหวัด
3.3 รับการเยี่ยมกำกับ ติดตาม จากผู้ประเมินของสำนักงานฯ สาขาเขตพื้นที่ และสนับสนุนข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่ผู้ประเมินต้องรวบรวมตามตัวชี้วัด
3.4 เสนอปัญหาจากการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไขให้สำนักงานฯ สาขาเขตพื้นที่ทราบเพื่อหาแนวทางและแก้ไขปัญหาร่วมกัน
4. การติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงานสาขาเขต
4.1ให้ข้อมูลสะท้อนผลการดำเนินงานของสาขาเขต
5.9 งานบริหารจัดการทรัพยากรการเงินและการคลัง  มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. ประเมินและวิเคราะห์สถานด้านการเงินการคลังการณ์และบริการของเครือข่าย
สถานบริการสุขภาพ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2. พัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านการเงินการคลังของสถาน
บริการสุขภาพ จัดตั้งและพัฒนาศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ด้านการเงินการคลังของสถานบริการสุขภาพ
3. ติดตาม กำกับ ประเมินผลการดำเนินงานในข้อ 1-2 และรายงานผลต่อผู้บริหารเพื่อ
พิจารณาดำเนินการต่อไป
4. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
5.10 งานกองทุนแรงงานต่างด้าว
1. การบริหารงานกองทุน มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
ตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว
พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว
รวบรวมรายงานส่งกระทรวง
ตรวจสอบและโอนเงินกรณีการบริการค่าใช้จ่ายสูง
2. การควบคุม กำกับการเบิกจ่ายกองทุน มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
ติดตาม ควบคุม กำกับรายรับ รายจ่ายเงินกองทุนประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว
5.11 งานพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  งานพระราชบัญญัติผู้ประสบภัยจากรถ มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. ประสานงานกับประกันภัยจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ร่วมประสานการจัดประชุมบุคลากรสาธารณสุขในการให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติผู้ประสบภัยจากรถ
5.12 งานบริหารจัดการโรคเฉพาะ (กรณีฟอกเลือดล้างไต) บทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. ดำเนินการสนับสนุนผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย เพื่อพิจารณาขอใช้วิธีการรักษา บำบัด ทดแทนไต ด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมถาวร(CAPD, HD ,KT)
2. สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ เพื่อสนับสนุนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ในระบบหลักประกันสุขภาพระดับจังหวัดฯ ดังนี้
2.1 ดำเนินการสรรหาบุคคลเพื่อเข้าเป็นคณะกรรมการฯ
2.2 จัดประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาและเสนอรายชื่อผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ตามแนวทางของ สปสช.
2.3 สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการ ในด้านการให้ข้อมูลและให้คำปรึกษาเพื่อการแก้ไขปัญหา
2.4 นำมติหรือแนวทางจากที่ประชุมคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการตามแนวทาง สปสช.
 
6. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข
6.1 งานพัฒนากลยุทธ์ด้านทันตสาธารณสุข
6.1.1 กำหนดทิศทางงาน/แผนยุทธศาสตร์ด้านทันตสาธารณสุขระดับจังหวัดลำพูน
- กำหนดเป้าหมาย แผนกลยุทธ์และแผนยุทธศาสตร์ของงานทันตสาธารณสุขระดับจังหวัดที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ และบริบทของการพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ภารกิจด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ และภารกิจด้านบริการสุขภาพแก่ประชาชน
-กำหนดแผนกำลังคนด้านทันตสาธารณสุขให้ได้สัดส่วนพอเหมาะกับประชากรระบบ GIS และสภาพพื้นที่ของจังหวัด
6.1.2 ประเมินทรัพยากรเพื่อการจัดการด้านทันตสาธารณสุข
-ประสานงานให้เกิดการใช้ทรัพยากรในระดับจังหวัดให้เหมาะสมในการพัฒนางานทันตสาธารณสุขและการบริการทันตกรรมในพื้นที่ ทั้งในแง่งบประมาณ ครุภัณฑ์ เทคโนโลยี และบุคลากร
- การจัดการบริหารงบประมาณทั้งในและนอกระบบประกันสุขภาพ ของจังหวัดแบบสมดุล และบูรณาการอย่างเหมาะสมในการแก้ปัญหาสุขภาพแบบองค์รวม
-ส่งเสริมให้มีการจัดสรรและใช้งบประมาณด้านทันตสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิผล
6.1.3 ประเมินผลงานด้านทันตสาธารณสุขของเครือข่ายบริการสุขภาพ
- ติดตามประเมินผลการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในระดับจังหวัด วิเคราะห์ปัญหา ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ ในการทำงานส่งเสริมสุขภาพและงานบริการทันตกรรมของจังหวัด
6.1.4 ศึกษา/สำรวจสภาวะทันตสุขภาพประชาชนเพื่อประเมินสภาพปัญหาทันตสาธารณสุข
- จัดการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของประชาชนเป็นระยะๆ เพื่อติดตามสถานการณ์สุขภาพช่องปากตามเป้าหมายของงานทันตสุขภาพ และเพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการทันตสุขภาพ
6.1.5 จัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลข่าวสารทันตสาธารณสุข
- จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักวิชาการและผู้บริหารระดับจังหวัดและส่วนกลาง
- รวบรวมข้อมูลข่าวสาร การศึกษาวิจัย ตรวจสอบความถูกต้องของสถิติข้อมูลทางทันตสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบ
6.2 งานพัฒนาระบบทันตสุขภาพ
6.2.1 นิเทศติดตาม/กำกับประเมินการดำเนินงานทันตสาธารณสุขของสถานบริการและเครือข่ายระดับปฐมภูมิ
-นิเทศติดตาม/กำกับประเมินการดำเนินงานทันตสาธารณสุขให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการแผนกลยุทธ์ที่กำหนด
6.2.2 ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานและการจัดบริการทันตสุขภาพ
- พัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพของเครือข่ายบริการและทันตบุคลากรเพื่อให้เกิดการดำเนินงานสร้างเสริมทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
- ประสานให้เกิดการจัดสรรและใช้งบประมาณทั้งในและนอกระบบประกันสุขภาพ เพื่อบูรณาการงานให้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของหน่วยบริการ
6.2.3 ประสานงานในการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการบริการทันตกรรม
- ปฏิบัติงานในฐานะเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ใน พ.ร.บ.สถานบริการ ปี 2541
- เป็นผู้ประสานงานกับตัวแทนวิชาชีพในคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับจังหวัด
6.2.4 ประเมินสถานบริการหน่วยคู่สัญญาระดับปฐมภูมิตามเกณฑ์มาตรฐาน
6.2.5 บริหารจัดการโครงการทันตสุขภาพตามกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
6.3 งานส่งเสริมและป้องกันทันตสุขภาพตามกลุ่มอายุ
6.3.1 ดำเนินการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ ตามกลุ่มอายุ ได้แก่
- กลุ่มหญิงมีครรภ์และเด็กปฐมวัย
- กลุ่มเด็กประถมศึกษา
- กลุ่มเยาวชน
- กลุ่มวัยทำงาน
- กลุ่มผู้สูงอายุ
6.3.2 รณรงค์และเผยแพร่ทันตสาธารณสุข
- จัดกิจกรรมรณรงค์ด้านทันตสุขภาพแก่ประชาชนในกลุ่มอายุต่างๆ
- เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ความรู้ทางทันตสุขภาพแก่ประชาชน ตามช่องทางต่างๆ เช่น แผ่นพับวิชาการ เสียงตามสาย รายการวิทยุ
6.3.3 จัดบริการทันตกรรมเพื่อการสาธิต ส่งเสริม และป้องกันทันตสุขภาพ แก่ประชาชน
- จัดให้มีคลินิกบริการทันตกรรมเพื่อการสาธิต ส่งเสริม และป้องกัน ทันตสุขภาพแก่ประชาชน
- วิจัยรูปแบบการให้บริการในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น นักเรียนประถมศึกษา เด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6.4 งานวิชาการทันตสาธารณสุข
6.4.1 พัฒนารูปแบบการดำเนินงานส่งเสริม/ป้องกันทันตสุขภาพเพื่อสนับสนุนเครือข่ายและหน่วยบริการในจังหวัด
- ประยุกต์เทคโนโลยี รูปแบบและแนวคิดการให้บริการจากต่างประเทศ หรือที่กรมวิชาการกำหนดหรือพัฒนาไว้แล้ว เพื่อบูรณาการให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่รับผิดชอบ
- ส่งเสริมวิจัย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ในการสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการดูแลทันตสุขภาพ ส่งเสริม การพัฒนามาตรฐานและการจัดบริการด้านส่งเสริมทันตกรรมป้องกันของเครือข่ายและหน่วยบริการภายในจังหวัด
6.4.2 ศึกษาวิจัย และพัฒนาด้านทันตสาธารณสุข
- ศึกษาวิจัย สำรวจ สาธิต และพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน ทันตสาธารณสุขในระดับจังหวัด
- สนับสนุนการสำรวจและวิจัยทางทันตสาธารณสุขของจังหวัดและงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง
- ให้คำแนะนำทางวิชาการ แก่หน่วยงานและองค์กรในระดับจังหวัด
6.4.3 ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
- บริการทางวิชาการ ประกอบด้วย การสอน/การฝึกอบรม แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู และนักศึกษา ทันตแพทย์/ทันตาภิบาล และอื่นๆ
6.4.4 สนับสนุนวิชาการทันตสาธารณสุขแก่เครือข่ายบริการและหน่วยงานต่างๆ
- ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะกิจกรรมด้านทันตสาธารณสุขแก่บุคลากรทุกองค์กรและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
 
7. กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ
งานพัฒนาคุณภาพ
7.1 งานพัฒนาคุณภาพบริการทุกมาตรฐาน
- ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานบริการของหน่วยบริการสุขภาพระดับ ตติยภูมิ ทุติยภูมิและปฐมภูมิ
- ควบคุมมาตรฐานงานบริการและประเมินระดับการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน
บริการสุขภาพ ระดับ ตติยภูมิ ทุติยภูมิและปฐมภูมิ
7.2 งานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA)
- กำหนดนโยบายการพัฒนาองค์การและการพัฒนาคุณภาพบริการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
- เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐแก่บุคลากรสาธารณสุขทุกเครือข่าย
- บูรณาการการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐกับการพัฒนาคุณภาพการบริการระดับ ตติยภูมิ ทุติยภูมิและปฐมภูมิ
- ประเมินองค์การด้วยตนเอง (Self-Assessment) ตามเกณฑ์ฯ และจัดทำแผนพัฒนาองค์การเพื่อการยกระดับการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขให้มีสมรรถนะสูง
- ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริการ คุณภาพการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาองค์การ
7.3 งานพัฒนาคุณภาพบุคลากร ด้านเทคนิคบริการ
- วางแผนการพัฒนาคุณภาพ บริการงานการพยาบาล และการพยาบาลชุมชน ของหน่วยบริการทุกระดับ วางแผนการพัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคบริการ
- ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคบริการทุกบริการหลัก
- พัฒนาคู่มือในการประเมินคุณภาพงานบริการพยาบาล
- ประสานการประเมินผลการพัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคบริการ พัฒนาคุณภาพงานบริการพยาบาลในหน่วยบริการทุกระดับ
7.4 งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
- เผยแพร่ข่าวสารด้านวิชาการและเผยแพร่นโยบาย ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์การ
- ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ
-. ส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานสุขศึกษาตามมาตรฐานงานสุขศึกษาในสถานบริการสาธารณสุข
7.5 งานสนับสนุนการสร้างสุขภาพภาคประชาชน
-วิเคราะห์สถานการณ์และคาดการณ์แนวโน้มความสามารถ และบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการบริหารจัดการสุขภาพของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้ชุมชนในท้องถิ่นสามารถแสดงบทบาทที่พึงประสงค์ได้
-ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพหมู่บ้านจัดการสุขภาพ
-พัฒนาทักษะความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขในด้านต่างๆ เช่น 1) การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ จิตสำนึก ศรัทธา ความรักสามัคคี และเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 2) เพิ่มทักษะการอบรม ฝึกสอนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง และเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้เชิงเทคนิคและบริหารจัดการ ตลอดจนเป็นผู้ขับเคลื่อนชุมชนและสังคมไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
-จัดให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน เพื่อให้เกิดการเทียบเคียงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศในงานพัฒนาสุขภาพและขอบเขตของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานสร้างนโยบายสุขภาพท้องถิ่น
-วางแผนการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงสร้างชุมชน ที่เอื้อต่อการจัดระบบสุขภาพภาคประชาชน
-วางแผนพัฒนาระบบเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตลอดจนรูปแบบระบบสนับสนุนชุมชนในลักษณะกองทุนสุขภาพชุมชน
-สร้างความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยการพัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องสาธารณสุขและความจำเป็นทางสุขภาพ
-พัฒนาระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นๆและแสดงบทบาทที่พึงประสงค์ได้
- สร้างระบบสนับสนุนที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องสวัสดิการ การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุข
-วางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และพัฒนาการใช้สื่อชุมชน เช่น สถานีวิทยุชุมชน หอกระจายข่าว เสียงตามสาย พัฒนาระบบข้อมูลที่ทันสมัยและมีมาตรฐาน
- พัฒนากลไกการประสานงาน ในการบูรณาการงานของภาคีเครือข่ายและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้
-ประสานงานกับส่วนงานต่าง ๆ ในหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปโดยความสะดวก รวดเร็ว
-ปรับกระบวนทัศน์บุคลากรและแกนนำ ภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคประชาชนทุกระดับ เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพของชุมชน
- ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดนโยบายชุมชนโดยเครือข่ายประชาคม/องค์กรชุมชน
-ให้คำแนะนำ ปรึกษา ในงานด้านวิชาการและการปฏิบัติแก่บุคลากรด้านสาธารณสุขและแกนนำ เพื่อให้สามารถดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
7.6 งานพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและเวชปฏิบัติครอบครัว
- สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานบริการและภาพลักษณ์ของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- จัดทำแผนยุทธศาตร์บริการปฐมภูมิ 4 ปี
- ควบคุม กำกับ ประเมินผลการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
- สนับสนุนวิชาการและพัฒนาบุคลากรระบบบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- จัดทำแผนพัฒนากำลังคนระบบบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- พัฒนาระบบส่งต่อระบบบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
 
งานพัฒนารูปแบบการบริการ
7.7 งานบริการกามโรคและโรคเอดส์
- จัดให้มีคลินิกบริการกามโรคและโรคเอดส์พื่อการสาธิต ส่งเสริมและป้องกันให้กับประชาชน และวิจัยรูปแบบการให้บริการในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
- พัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ให้บริการในคลินิกให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
- จัดทำแผนการใช้วัสดุ ครุภัณฑ์ ประจำคลิกนิก
- ประสานและสนับสนุนกิจกรรมการบริการกามโรคและโรคเอดส์ในพื้นที่เครือข่าย
7.8 งานบริการทันตกรรม
- สนับสนุนการบริการทันตกรรมใน PCU ให้ได้มาตรฐาน
- นิเทศติดตาม PCU ให้จัดบริการทันตกรรมให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
- พัฒนาศักยภาพทันตบุคลกรที่ปฏิบัติงานใน PCU
- จัดให้มีคลินิกบริการทันตกรรมเพื่อการสาธิต ส่งเสริมและป้องกันให้กับประชาชน และวิจัยรูปแบบการให้บริการในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น นักเรียนประถมศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
- สนับสนุนโดยการจัดหน่วยบริการทันตกรรมเคลื่อนที่ไป PCU หรือโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อเป็นการสนับสนุน PCU รพศ./ รพท. หรือ CUP ที่มีทันตบุคลากรไม่ เพียงพอ
- สนับสนุนกิจกรรมทันตสาธารณสุข พอ.สว. และหน่วยทันตกรรมอื่น ๆ
- ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมพื้นที่ บุคลากรเพื่อออกไปให้บริการทันตกรรมในพื้นที่ พอ.สว.
- สนับสนุนหน่วยทันตกรรมอื่น ๆ เช่น หน่วยทันตกรรมพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ ขององค์กรเอกชนอื่น ๆ
7.9 งานส่งเสริมพัฒนา คลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
- เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
- ประสานนโยบายและสนับสนุนการดำเนินงานการแพทย์แผนไทยของหน่วยงานสาธารณสุขในจังหวัด ทั้งภาครัฐและเอกชน และในระดับชุมชน
- รวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน และหมอพื้นบ้านในจังหวัด เพื่ออนุรักษ์ความรู้ ไม่ให้สูญหายไป
- จัดให้มีคลินิกบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
- พัฒนาศักยภาพบุคลากรคลินิกบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
- จัดทำแผนการใช้วัสดุ ครุภัณฑ์ ประจำคลิกนิก
7.10 งานบำบัดรักษายาเสพติด
- จัดคลินิก/ระบบการบำบัดรักษายาเสพติด
- ประสานนโยบาย ข้อมูลและสนับสนุนการดำเนินงานการบำบัดรักษายาเสพติด
- สร้างเครือข่ายในการดูแล บำบัดรักษาผู้เสพ
- สนับสนุนองค์ความรู้ การพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานบำบัดรักษายาเสพติด
7.11 งานรักษาพยาบาล
- จัดคลินิก/ระบบการรักษาพยาบาล ระบบยาและเวชภัณฑ์
- ประสานนโยบาย ข้อมูลการรักษาพยาบาล
- สร้างเครือข่ายในการดูแลรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลและหน่วยบริการอื่น
- สนับสนุนองค์ความรู้ การพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบงานการรักษาพยาบาล
7.12 งานพัฒนาบริการทุกสาขาวิชาชีพ
- พัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านบริการ หน่วยบริการทุกระดับ
- พัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังค่านิยมจิตบริการ (Service mind)
- จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรด้านบริการ
7.13 งานพัฒนาระบบส่งต่อ
- สร้างเครือข่ายผู้ประสานงานระหว่างโรงพยาบาล ประสานการส่งต่อเพื่อการรักษาและรับกลับ สร้างระบบเครือข่ายการส่งต่อ
- จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยส่งต่อและมาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย
- พัฒนาระบบสารสนเทศการส่งต่อเพื่อการตัดสินใจ
- การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับ Referral Manager
7.14 งานจิตอาสา
- จัดทำแผนพัฒนางานจิตอาสา
- ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมอาสาสมัครในระบบบริการสุขภาพ
- พัฒนารูปแบบการดำเนินงานของอาสาสมัครให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพ
- พัฒนาการมีส่วนร่วมแบบจิตอาสาของประชาชนในระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
7.15 งานบริหารความเสี่ยง
- ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินการบริหารความเสี่ยงด้านการบริการของหน่วยบริการทุกระดับ
- พัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงของหน่วยบริการ
- จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงด้านการบริการของหน่วยบริการ
- ประเมินผลการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงด้านการบริการของหน่วยบริการทุกระดับ
 
8. กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค
8.1 งานมาตรฐานผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการด้านบริการสุขภาพ
- เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ พระราชบัญญัติยา อาหาร วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษ สารระเหย เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์ สถานพยาบาล และพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ - พิจารณาอนุญาตการดำเนินการสถานที่ผลิต สถานที่นำหรือส่งเข้ามาในราชอาณาจักร สถานที่ขายและโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสถานบริการสุขภาพ ( สถานพยาบาล ) รวมถึง การต่ออายุใบอนุญาต
- ตรวจสอบควบคุมดูแลสถานที่ผลิต จำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสถานที่ให้บริการสุขภาพ ในจังหวัด ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง พิจารณาใช้มาตรการตามกฎหมายตามความจำเป็นแล้วแต่กรณี
- ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิต จำหน่าย และนำเข้ามาในราชอาณาจักรในจังหวัด โดยผู้ประกอบการในจังหวัดและที่ประชาชนร้องเรียน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค
- ตรวจสอบควบคุมดูแลการโฆษณาผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพทางสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่
- งานส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนและท้องถิ่น (OTOP)
- ประสานงานในการออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกระดับ
8.2 งานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย
- งานส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคและภาคีเครือข่าย
- งานบังคับใช้กฎหมาย
- งานเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยและอาการไม่พึงประสงค์จากการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- งานรับเรื่องร้องทุกข์และร้องเรียน
- งานจัดการระบบสารสนเทศด้านเภสัชสาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
8.3 งานพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ ประกอบด้วย
- งานพัฒนาและกำกับดูแลมาตรฐานระบบบริหารยาและเวชภัณฑ์ตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ
- งานพัฒนาและกำกับดูแลมาตรฐานระบบบริการยาและเวชภัณฑ์
- งานควบคุมกำกับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
8.4 งานส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจสุขภาพ
- งานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในธุรกิจสุขภาพ
- งานรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
8.5 งานบริการวิชาการ
- ฝึกอบรม พนักงาน เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ
- วิจัยและพัฒนา และสนับสนุนข้อมูลวิชาการแก่หน่วยงานต่าง ๆ และประชาชน
 
9. กลุ่มงานนิติการ
9.1 งานให้คำปรึกษาความเห็นทางกฎหมาย
- ให้คำปรึกษา และ ความเห็นทางกฎหมาย
- ตีความ วินิจฉัย ทางกฎหมาย
- ให้คำปรึกษาการร่างกฎหมายขององค์กรส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการอื่น
9.2 งานนิติกรรมและสัญญา
- จัดทำนิติกรรมและสัญญาต่างๆ
- ตรวจสอบนิติกรรมและสัญญา
- คิดคำนวณค่าเสียหายและค่าปรับกับผู้ผิดสัญญา
- เรียกชดใช้ค่าเสียหายและค่าปรับกับผู้ผิดสัญญา
- ทำสัญญาเงินเพิ่มพิเศษสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร
- ร่างสัญญานอกเหนือจาก กวพ.
9.3 งานดำเนินการทางวินัยและเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม
- สืบสวน สอบสวน ดำเนินการทางวินัย
- ตรวจสำนวนการดำเนินการทางวินัย
- ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีมีการร้องเรียน
- ดำเนินการสั่งพักราชการ/ให้ออกจาก ราชการไว้ก่อน
- ดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์
- เผยแพร่ เสริมสร้าง พัฒนาความรู้ทางด้านวินัย และการป้องกันการทุจริต
9.4 งานรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์
- เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ร่วมตรวจสอบ การประกอบวิชาชีพ ตาม พ.ร.บ.วิชา
ชีพการพยาบาลฯ พ.ศ.2528 ตรวจสอบสถานที่จำหน่ายบุหรี่ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.
2535 ตรวจสอบสถานที่คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535
- รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว
9.5 งานดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง คดีตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
- วิเคราะห์ ตรวจสอบ รวบรวมหลักฐาน ส่งเอกสารให้กับพนักงานสอบสวน พนักงาน
อัยการ เพื่อดำเนินฟ้องคดี แก้ต่างคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีตามกฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
- ฟ้องและแก้ต่างคดีปกครองเอง
- เป็นผู้แทนในการประสานคดีกับพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาล
9.6 งานพิจารณาตรวจสอบคำอุทธรณ์
- พิจารณา ตรวจสอบ การอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
- พิจารณา ตรวจสอบ การอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535
9.7 งานเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมาย
- ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง มติ ค.ร.ม. และประกาศต่าง ๆ
- จัดประชุม อบรม สัมมนา
- เป็นวิทยากรบรรยาย
9.8 งานบังคับคดีตามคำพิพากษาคำสั่ง
- สืบหาหลักทรัพย์ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
- ติดตามเร่งรัดลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
- ประสานเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่ออายัด ยึดทรัพย์
- นำเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดยึด
9.9 งานดำเนินมาตรการทางปกครอง
- เตรียมคำสั่งทางปกครอง
- พิจารณาคำสั่งทางปกครอง
- ออกคำสั่งทางปกครอง
- แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครอง
- เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
- พิจารณา/กำหนดมาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา 57
9.10 งานดำเนินเปรียบเทียบปรับคดี
- เปรียบเทียบปรับ หรือ เปรียบเทียบคดีตามกฎหมายว่าด้วยยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย สถานพยาบาล และ พ.ร.บ สาธารณสุข ฯลฯ
9.11 งานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
- ระงับข้อพิพาท โดยการเจรจา ไกล่เกลี่ย
- การประนอมข้อพิพาท
- การดำเนินข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
9.12 งานความรับผิดทางละเมิด
- สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
- เรียกให้ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหาย
9.13 งานด้านกฎหมายทั่วไปหรืออื่นๆ
- ดำเนินการ ติดต่อประสานงาน และขอข้อมูล ทางด้าน
- ราชการใสสะอาด
- การดำเนินการชันสูตรพลิกศพ
- การตรวจสอบภายใน
- การควบคุมภายใน
- พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร
- นิเทศงานผสมผสาน
 
10. กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล
10.1 งานวางแผนกำลังคน
1. กำหนดนโยบาย แผนงาน และมาตรการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่ความสอดคล้องและสนับสนุนให้องค์กรบรรลุพันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2. วางแผนและบริหารกำลังคน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ กำลังคนมีขนาดและสมรรถนะ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการบรรลุภารกิจและความจำเป็นขององค์กรทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
3. การวิเคราะห์สภาพกำลังคน (Workforce Analysis) ระบุช่องว่างด้านความต้องการกำลังคนและมีแผนเพื่อลดช่องว่างดังกล่าว
10.2 งานบริหารทรัพยากรบุคคล
         กำหนดนโยบายงานบริหารทรัพยากรบุคคล จัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล แผนงาน โครงการ และมาตรการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อดึงดูดให้ได้มา พัฒนา และรักษาไว้ซึ่งบุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะและสมรรถนะสูง ซึ่งจำเป็นต่อความคงอยู่และขีดความสามารถในการแข่งขันของส่วนราชการและจังหวัด (Talent Management) จัดทำแผนการสร้างและแผนการพัฒนาผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งมีแผนสร้างความต่อเนื่องในการบริหารราชการ การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ การสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานทั้งในเรื่องของผู้ปฏิบัติงานและพฤติกรรมในการทำงานดำเนินกิจกรรมงานการเจ้าหน้าที่และกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กร ดังนี้
- การสรรหา บรรจุและแต่งตั้งพนักงานราชการ
- การบรรจุ แต่งตั้งข้าราชการ ย้าย โอน เลื่อนระดับ ลาออก และบรรจุกลับ
- การพัฒนาการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ
- การโยกย้าย
- งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการและลูกจ้างประจำ
- งานลาศึกษาต่อของข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการ
- การขอบำเหน็จ บำนาญ ของข้าราชการและลูกจ้างประจำ
10.3 งานประเมินผลสัมฤทธิ์งาน ประเมินค่างาน
         จัดระบบการบริหารผลงาน (Performance Management) ที่เน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความคุ้มค่าจัดระบบ กำหนดวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่สามารถจำแนกความแตกต่างและจัดลำดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิผล และผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างผลการปฏิบัติงานส่วนบุคคลและผลงานขององค์กรกำหนดแนวทางการตัดสินใจด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ตลอดจนการดำเนินการด้านวินัยโดยคำนึงถึงหลักความสามารถและผลงาน หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม และหลักสิทธิมนุษยชน มีช่องทางให้ข้าราชการทุกระดับซักถามและรับฟังคำชี้แจงในขั้นตอน กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล สร้างระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความโปร่งใสในทุกกระบวนการของการบริหารทรัพยากรบุคคล กำหนดแนวทางความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน จัดระบบการทำงานเพื่อลดขั้นตอน ระยะเวลา การประเมินความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบงานอัตโนมัติรองรับกิจกรรมและกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล
10.4 งานฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคล
         จัดทำฐานข้อมูลกำลังคน จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความถูกต้อง เที่ยงตรง ทันสมัย และนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจและการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน
10.5 งานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์
         จัดสภาพแวดล้อมการทำงานในหน่วยงานแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรมีความพึงพอใจ จัดระบบงานและบรรยากาศการทำงานที่ปลอดภัย คำนึงถึงความสะดวกทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ สร้างบรรยากาศและมีกิจกรรมที่ผ่อนคลายแก่บุคลากร การสำรวจความพึงพอใจของข้าราชการต่อบรรยากาศการทำงาน การนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ในการปฏิบัติงานและการให้บริการแก่ประชาชน ส่งเสริมให้บุคลากรและผู้ปฏิบัติงานได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่โดยไม่สูญเสียรูปแบบการใช้ชีวิตส่วนตัว การจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมที่ไม่ใช่สวัสดิการภาคบังคับตามกฎหมาย ซึ่งมีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของหน่วยงาน
10.6 งานทะเบียนประวัติและบัตร
         จัดทำระบบทะเบียนและประวัติ ฐานข้อมูลของบุคลากรในองค์กร จัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ
10.7 งานประเมินคุณสมบัติบุคคลและผลงานขึ้นดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น
         จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งบุคลากรทุกระดับ ทุกตำแหน่ง สื่อสารให้ทราบโดยทั่วกันทั้งหน่วยงาน กำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของแต่ละเป้าประสงค์ การถ่ายทอดเป้าหมายยุทธศาสตร์ไปสู่ผู้บริหารระดับรองลงไป จัดทำแนวทางการประเมินบุคคลและผลงานเพื่อการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตามหลักคุณธรรม หลักความสามารถ หลักผลงาน
10.8 งานเสริมสร้างขวัญและกำลังใจบุคคล
         การส่งเสริมกิจกรรมการสร้างความผูกพันและความสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายบริหารขององค์กร กับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และระหว่างบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้วยตนเอง กำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการและมาตรการ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร การสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล สร้างวัฒนธรรมองค์กรและบรรยากาศการทำงานที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง จัดระบบการจัดการความรู้ ระบบเครือข่ายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
10.9 งานนิเทศ ติดตามและประเมินผลทรัพยากรบุคคล
- มีระบบการบริหารผลงาน และมีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่มีประสิทธิผล ซึ่งเชื่อมโยงกับผลตอบแทน ความโปร่งใสของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลและพร้อมให้มีการตรวจสอบ
- การจำแนกความแตกต่างและจัดลำดับผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ
10.10 งานพัฒนาบุคลากรด้านบริหาร
        จัดทำนโยบาย แผนงาน โครงการ และมาตรการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานก่อให้เกิดผลดังนี้
- การรักษาไว้ซึ่งข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานซึ่งจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายพันธกิจขององค์กร (Retention)
- ความพึงพอใจของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานต่อนโยบาย แผนงาน โครงการ และมาตรการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน
- การสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความรู้ (Development and Knowledge Management) เพื่อพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการบรรลุภารกิจและเป้าหมายขององค์กร

                     ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว                        

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการหน่วยงานและจังหวัดสำนักงานสาธารณสุขกาฬสินธุ์ <<
 
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<