1.ทรัพยากรประมงหมายถึงข้อใด
ก. ทรัพยากรทางนํ้าทุกชนิด
ข. กุ้ง หอย ปูปลา
ค. สัตว์นํ้าและพืชนํ้าทุกชนิดรวมทั้งผลผลิตและผลพลอยได้จากสัตว์นํ้าและพืชนํ้าได้แก่ ปลา ปู หอย หมึก และสัตว์นํ้าอื่น ๆ
ง. ทรัพยากรปลาทะเล
จ. ทรัพยากรปลานํ้าจืด
2. ความหมายของการประมงหมายถึงข้อใด
ก. การจับสัตว์นํ้า
ข. การเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า
ค. การซื้อขายการค้าการลงทุนเรื่องสัตว์นํ้า
ง. การดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นํ้า
จ.. การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้า
3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่รูปแบบการเลี้ยงปลา
ก. การเลี้ยงปลาในบ่อดิน
ข. การเลี้ยงปลาในคอก
ค. การเลี้ยงปลาในคูร่องสวน
ง. การเลี้ยงปลาในตู้กระจก
จ. การเลี้ยงปลาในคลอง
4.การเลี้ยงปลาไม่สามารถเลี้ยงร่วมกับสิ่งใด
ก. การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช
ข. การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด
ค. การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงหมู
ง. การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่เนื้อ
จ. การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงโค
5.ข้อใดต่อไปนี้คือเครื่องมือประมงประจำที่
ก. โป๊ะ โพงพาง
ข. ลอบ ไซ
ค. เบ็ด ตาข่าย
ง. อีจู้ ลัน
จ. ฉมวก สุ่ม
6.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เครื่องมือประมงนํ้าจืด
ก. ลอบยืน อีจู้
ข. ฉมวก ลัน
ค. โป๊ะ โพงพาง
ง. ไช สุ่ม
จ. สวิง เบ็ด
7.เจ้ากรมรักษาสัตว์นํ้าคนแรกของประเทศไทยคือใคร
ก. ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท
ข. ดร.เชาเวน ลิง
ค. ม.ร.ว. สุวพรรณ สนิทวงค์
ง. หลวงจุลชีพพิช ชาธร
จ. กรมขุนสงขลานครินทร์
8.Over fishing หมายถึง
ก. การจับปลาขนาดใหญ่
ข. การจับปลาในฤดูไข่
ค. การจับปลาเกินกําลังการผลิตของธรรมชาติ
ง. การจับปลาโดยวิธีผิดกฎหมาย
จ. การจับปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
9.เขตเศรษฐกิจจำเพาะมีความยาวเท่าใด
ก. 100 ไมล์ทะเล
ข. 200 ไมล์ทะเล
ค. 300 ไมล์ทะเล
ง. 400 ไมล์ทะเล
จ. 500 ไมล์ทะเล
10.วันประมงแห่งชาติตรงกับวันที่เท่าใด
ก. 28 กรกฎาคม
ข. 28 สิงหาคม
ค. 21 กันยายน
ง. 28 ตุลาคม
จ. 21 ธันวาคม
11.ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำการดูแลแนะนำ ขยายการจับสัตว์นํ้าเพื่อเป็นอาหารทั้งภายในและภายนอกประเทศ กำหนดเขตและฤดูที่อนุญาตให้จับสัตว์นํ้าตาม พรบ. อากรค่านํ้าชื่อว่าอะไร
ก. กรมรักษาสัตว์นํ้า
ข. กรมการประมง
ค. กรมประมง
ง. กรมเจ้าท่า
จ. สถานีประมง
12.สถานีแห่งแรกของประเทศไทย คือ
ก. สถานีประมงจังหวัดลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ข. สถานีประมงหนองหาร จังหวัดสกลนคร
ค. สถานีประมงกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ง.สถานีประมงบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
จ. สถานีประมงประทุมธานี จังหวัดประทุมธานี
13.สถานีประมงแห่งที่ 2 ของประเทศไทยคือ
ก. สถานีประมงจังหวัดลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ข. สถานีประมงหนองหาร จังหวัดสกลนคร
ค. สถานีประมงก๊วานพะเยา จังหวัดพะเยา
ง. สถานีประมงบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
จ. สถานีประมงประทุมธานี จังหวัดประทุมธานี
14.ปัญหาการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าจืดได้แก้ข้อใด
ก. ขาดแคลนพ่อ,แม่พันธุ์
ข. ความแห้งแร้ง
ค. สภาพแวดล้อม
ง. โรคระบาดปัญหาราคา
จ. ถูกทุกข้อ
15.การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในแหล่งนํ้าจืดมีผลต่อสะภาพแวดล้อมอย่างไร
ก.. การเลี้ยงสัตว์นํ้าจืดลดลง
ข. ทำให้ปลูกพืชได้น้อยลง
ค. ความเค็มจะแพร่กระจายลงสู่ดินทำให้สะภาพค่านำไฟฟ้าของดินเปลี่ยนไปจึงไม่เหมาะต่อการทำ การเกษตร
ง. ทำให้กุ้งกุลาดำมีผลผลิตน้อยลง
จ. ไม่สามารถส่งออกกุ้งกุลาดำได้
16.การประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศเพื่อนบ้านมีผลกระทบต่อการประมงของไทยคือ
ก. ทรัพยากรลดน้อยลง
ข. สัตว์นํ้าถูกจับมากขึ้น
ค. ชาวประมงสูญเสียพื้นที่ทำการประมงในทะเลลดลง
ง. เกิดกรณีพื้นที่ทับซ้อน
จ. ชาวประมงถูกจับ
17.ผลทางบวกต่อการประมงจากปรากฏการณ์เอลนีโน คือข้อใด
ก. กระแสนํ้าในมหาสมุทรแปซิฟิกทำให้ซูโอแพลงค์ตอนของปลาซาลมอนเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว
ข. ทำให้สัตว์นํ้ามีราคาแพงมากขึ้น
ค. ปริมาณปลาลดลง
ง. ชาวประมงต้องออกไปจับสัตว์นํ้าไกลจากชายฝั่งมากขึ้น
จ. ปลามีความสมบูรณ์เพศมากขึ้น
18.เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศของไทยมีหน้าที่เกี่ยวข้องต่อการประมงในข้อใด
ก. การเจราจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้รับสัมปทานแก่เรือประมงไทย
ข. การประท้วงกรณีรัฐชายฝั่งกระทำเกินกว่าเหตุ
ค. การให้ความช่วยเหลือกับเจ้าของเรือและลูกเรือ
ง. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบการประมง
จ. ถูกทุกข้อ
19.การอนุรักษ์ทรัพยากรประมงหมายถึงอะไร
ก. การใช้ประโยชน์จากสัตว์นํ้า
ข.การใช้ประโยชน์จากสัตว์นํ้าและผลพลอยได้จากสัตว์นํ้า
ค. การใช้ประโยชน์จากสัตว์นํ้าและผลพลอยได้จากสัตว์นํ้า อย่างเห็นคุณค่า
ง. การใช้ประโยชน์จากสัตว์นํ้าและผลพลอยได้จากสัตว์นํ้า อย่างเห็นคุณค่าและสูญเสียน้อยที่สุด
จ. การใช้ประโยชน์จากสัตว์นํ้าและผลพลอยได้จากสัตว์นํ้า อย่างเห็นคุณค่าและสูญเสียน้อยที่สุด และสร้างเพิ่มเติม
20.ข้อใดไม่ใช่การอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
ก. วางมาตรการป้องกันศัตรูสัตว์นํ้า
ข. วางมาตรการทำการประมงที่เหมาะสม
ค.วางมาตรการ ห้ามทำการประมงในเขตหวงห้าม
ง. การใช้เครื่องมือประมงที่ไม่จำกัด
จ. วางมาตรการอื่นเพื่อเพิ่มผลผลิต