เเจกเเนวข้อสอบสอบงานธนาคาร ธกศ

หมวดหมู่สินค้า: แจกแนวข้อสอบ

21 สิงหาคม 2564

ผู้ชม 224 ผู้ชม

 
1. ข้อใด คือวิสัยทัศน์ของ ธ. ก. ส.
ก. เป็นธนาคารของชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย
ข.  เป็นธนาคารพัฒนาชุมชนเกษตรกรไทยอย่างถาวรและยั่งยืน
ค. เป็นธนาคารเพื่อการเกษตรที่พัฒนาสู่ระดับสากล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรรายย่อย
ง. เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มั่นคง มีการจัดการที่ทันสมัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อย
ตอบข้อ ง. วิสัยทัศน์ของ ธ. ก. ส. คือ “ เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มั่นคง มีการจัดการที่ทันสมัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อย

2. Payment Function คืออะไร
ก. หน้าที่รับฝากเงิน
ข.  หน้าที่จ่ายเงิน
ค. หน้าที่ให้กู้ยืม
ง. หน้าที่ทั่วไปเกี่ยวกับการเงิน
ตอบข้อ ข. “ หน้าที่จ่ายเงิน (Payment Function) หมายถึง การจ่ายคืนเงินแก่ผู้ฝาก ธนาคารพาณิชย์ที่รับฝากจากลูกค้าจะต้องเตรียมเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อการถอนคืนทุกขณะที่ลูกค้าต้องการด้วยการดำรงเงินสดสำรองไว้ ธนาคารพาณิชย์ที่สามารถจ่ายเงินคืนผู้คืนผู้ฝากได้ทุกครั้งนำมาซึ่งความเชื่อถือของผู้ฝากเงินซึ่งหมายถึงความไว้วางใจนำเงินฝากที่ธนาคารในอนาคต เพราะว่าธนาคารจะใหญ่ขึ้นหรือมีรายได้มากขึ้นเมื่อมีเงินฝากเพิ่มขึ้น เงินฝากจะเพิ่มขึ้นเมื่อธนาคารสามารถสร้างความเชื่อถือให้แก่ลูกค้าได้มากขึ้น ลูกค้าจะเชื่อถือธนาคารมากขึ้นเมื่อธนาคารมีหน้าที่การจ่ายคืนเงินฝากที่ดี ดังนั้น หน้าที่การจ่ายเงินที่ดีจะนำไปสู่ความมั่งคั่งแก่ธนาคารนั่นเอง ”

3. ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของ ธนาคารพาณิชย์
ก. ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ขึ้นตรงกับธนาคารแห่งประเทศไทย
ข. บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ค. สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ง. ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
ตอบข้อ ก. ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และให้ความหมายรวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์

4. ข้อใด มิใช่ หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์
ก. รับฝากเงิน
ข.  หน้าที่จ่ายเงิน
ค. หน้าที่ให้กู้ยืมเงิน
ง. หน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการเงิน
ตอบข้อ ง. หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ 1. หน้าที่รับฝากเงิน  2. หน้าที่จ่ายเงิน 3. หน้าที่ให้กู้ยืมเงิน 4. หน้าที่ทั่วไปเกี่ยวกับการเงิน

5. การฝากเงินประเภทกระแสรายวัน มีวัตถุประสงค์ตามข้อใด
ก. เพื่อความปลอดภัยในเงินฝาก
ข.  เพื่อความสะดวกแก่ผู้ฝากเงินเมื่อต้องการจ่ายเงิน
ค.  เพื่อก่อเกิดรายได้จากการรำเงินมาฝาก
ง. เพื่อช่วยให้การกู้ยืมเงินธนาคารง่ายขึ้น
ตอบข้อ ข. เพื่อสะดวกแก่ผู้ฝากเงินเมื่อต้องการจ่ายเงิน ผู้นำเงินฝากด้วยวัตถุประสงค์นี้มักฝากเงินประเภทกระแสรายวันที่จ่ายคืนด้วยเช็ค

6. ธนาคารพาณิชย์มีแหล่งเงินได้กี่แหล่ง
ก. 2  แหล่ง
ข.  3 แหล่ง
ค. 4  แหล่ง
ง.  5  แหล่ง
ตอบข้อ  ก. ธนาคารพาณิชย์มีแหล่งที่ได้มาของเงินใหญ่ๆ 2 แหล่ง คือ 1. ขากแหล่งเจ้าของ และ 2. จากแหล่งเจ้าหนี้ เงินที่ธนาคารพาณิชย์นำไปให้กู้ยืมหรือลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่ธนาคารส่วนใหญ่มาจากเงินฝาก เมือเงินฝากมีมากขึ้น ธนาคารสามารถนำไปหาผลประโยชน์ได้มากขึ้น ดังนั้น ธนาคารจะใหญ่ขึ้นเรื่องๆ เมื่อมีเงินฝากเพิ่มขึ้น

7. ข้อใด มิใช่ เหตุผลในการฝากเงินไว้กับธนาคาร
ก. เพื่อความสะดวกในการจ่ายเงิน
ข.  เพื่อความปลอดภัยในเงินฝาก
ค. ใช้รายการบัญชีเงินฝากเป็นสถิติการรับ – จ่ายเงินของเจ้าของบัญชี
ง. ใช้รายการบัญชีเงินฝากเป็นหลักฐานเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
ตอบข้อ ง. เหตุผลในการฝากเงินไว้กับธนาคาร
1. เพื่อความสะดวกแก่ผู้ฝากในการจ่ายเงิน
2.  เพื่อความปลอดภัยในเงินฝาก
3. เพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการนำฝาก
4. เพื่อช่วยให้การกู้ยืมง่ายขึ้น
5. เพื่อใช้เป็นสถิติการรับ – จ่ายเงินของเจ้าของบัญชี

8. ข้อใด คือ เหตุผลในการฝากเงินประเภทเงินฝากประจำ
ก. เพื่อความปลอดภัยในเงินฝาก และความสะดวกในการจ่ายเงิน
ข.  เพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการนำฝาก และใช้เป็นสถิติการรับ – จ่ายเงิน
ค. เพื่อช่วยให้การกู้ยืมง่ายขึ้น และความสะดวกในการจ่ายเงิน
ง. เพื่อก่อให้เกิดรายได้ และความปลอดภัยในเงินฝาก
ตอบข้อ ง. ผู้ฝากเงินประเภทประจำ และออมทรัพย์จะได้รับประโยชน์จากธนาคารในด้านความปลอดภัยของเงินฝากควบคู่ไปกับการได้รายได้จากเงินฝากนั้น

9. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ. ก. ส.) มีระบบการธนาคารเป็นแบบใด
ก. ระบบธนาคารเดี่ยว
ข.  ระบบธนาคารสาขา
ค. ระบบธนาคารกลุ่ม
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.
ตอบข้อ ข. ระบบธนาคารสาขา คือ ระบบของธนาคารที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่หนึ่ง มีสามขากระจายอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ หรือในท้องถิ่นเดียวอาจมีสามขาของธนาคารมากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้

10. ใครเป็นผู้มีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร
ก. รัฐบาล
ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย
ง.  นายยกรัฐมนตรีโดยอิงอัตราในตลาดต่างประเทศ
ตอบข้อ ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

11.  ข้อใด มิใช่ ข้อเสียของระบบธนาคารสาขา
ก. มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีสาขาหลายแห่ง
ข.  ก่อให้เกิดอิทธิพลผู้ขาดทางการเงิน
ค. การดำเนินงานเกิดความล่าช้าในเรื่องการสั่งการ
ง. ขาดการแข่งขัน
ตอบข้อ ก. ข้อเสียของระบบธนาคารสาขา

12. ธนาคารแห่งแรกที่มีขึ้นในประเทศไทย คือ ธนาคารใด
ก. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้
ข.  ธนาคารออมสิน
ค. ธนาคารสแตนดาร์ดชาเตอร์
ง. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ตอบข้อ ก. ประวัติของธนาคารพาณิชย์เริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยชาวอิตาเลี่ยนทำหน้าที่เป็นนายธนาคาร สำหรับในประเทศไทย ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกแต่เป็นธนาคารสาขาของธนาคารต่างประเทศ

13. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ . ก. ส. ) ตั้งขึ้นในปีใด
ก. พ. ศ . 2490
ข. พ. ศ . 2509
ค. พ. ศ . 2500
ง. พ. ศ . 2519
ตอบข้อ ข. รัฐบาลได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร( ธ . ก. ส. ) ตั้งขึ้นเมื่อปี พ. ศ . 2509 โดยให้เป็นสถาบันระดับชาติ ที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่อำนวยสินเชื่อให้เกษตรกรอย่างกว้างขวางทั้งในด้านเกษตรโดยตรง และสถาบันเกษตรกร

14. ธนาคารพาณิชย์ของคนไทยแห่งแรก คือ
ก. ธนาคารกรุงไทย
ข.  ธนาคารออมสิน
ค. ธนาคารไทยพาณิชย์
ง.  ธนาคารนครหลวงไทย
ตอบข้อ ค. ธนาคารพาณิชย์ของคนไทยแห่งแรก คือ “ธนาคารไทยพาณิชย์ ”

15. ปัจจุบัน ธ . ก. ส. มีสาขาทั้งสิ้นกี่สาขา
ก. 495 สาขา
ข. 595  สาขา
ค. 695  สาขา
ง. 795  สาขา
ตอบข้อ ข. ปัจจุบัน ธ . ก. ส. มีสาขาทั้งสิ้น  595สาขา

16. โครงการฟื้นฟูและหักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน มีระยะเวลาดำเนินการตามข้อใด
ก. 1 เมษายน 2550 – 31 มีนาคม 2552
ข.  1 เมษายน 2551 – 31 มีนาคม 2553
ค.  1 เมษายน 2551 – 31 มีนาคม 2554
ง.   1 เมษายน 2552 – 31 มีนาคม 2554
ตอบข้อ ข.โครงการฟื้นฟูและหักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน มีระยะเวลาดำเนินการเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 – 31 มีนาคม 2553 รวม 2 ปี

17. เกษตรกรรายย่อย คือ เกษตรกรลูกค้าที่มีหนี้เงินต้นไม่เกินเท่าใด
ก. 50,000     บาท
ข.  100,000  บาท
ค.  150,000  บาท
ง.   200,000  บาท
ตอบข้อ ข. เกษตรกรรายย่อย หมายถึง เกษตรกรลูกค้าที่มีหนี้ต้นเงินกู้คงเหลือรวมกันทุกสัญญา ไม่เกิน  100,000  บาท

18. ข้อใด จัดเป็น สถาบันการเงินของรัฐ
ก. ธนาคารไทยพาณิชย์
ข.  ธนาคารกรุงไทย
ค. ธนาคารนครหลวงไทย
ง. ธนาคารกสิกรไทย
ตอบข้อ ข. สถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน ) เป็นต้น

19. ผู้ที่จะขอขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบจะต้องเป็นหนี้ไม่เกินเท่าไหร่
ก. 150,000  บาท
ข.  200,000   บาท
ค. 250,000  บาท
ง.  300,000   บาท
ตอบข้อ ข. ผู้ที่จะขอขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบจะต้องเป็นหนี้ไม่เกิน  200,000   บาท

20. ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระบบอิสลาม ข้อใด มิใช่ พื้นที่เป้าหมายในมาตรการนี้ของ ธ. ก. ส.
ก.  สตูล
ข.  ปัตตานี
ค.  ยะลา
ง. นราธิวาส
ตอบข้อ ก. พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

2. แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
21. ข้อใด มิได้  อยู่ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของรัฐบาล
ก. ภาคเกษตร
ข.   ภาคอุตสาหกรรม
ค. ภาคการท่องเที่ยว
ง.   ภาคการขนส่ง
ตอบข้อ ง. รัฐบาลมรนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ดังนี้
1. ภาคเกษตร
2. ภาคอุตสาหกรรม
3. ภาคการท่องเที่ยว
4. ภาคการตลาด การค้าและการลงทุน

22. เมื่อรัฐบาลประกาศควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อมิให้ประชาชนต้องซื้อของแพง รัฐบาลต้องใช้มาตรการเสริมข้อใด จึงจะได้ผลตามที่ต้องการ
ก. ลดอุปสงค์ของผู้บริโภคให้ต่ำลง
ข. ลดการผลิตสินค้าให้ต่ำกว่าปริมาณดุลยภาพ
ค. เพิ่มปริมาณการส่งออกสินค้าชนิดนั้นให้มากขึ้น
ง. เพิ่มปริมาณสินค้าให้เพียงพอกับอุปสงค์ของผู้บริโภค
ตอบข้อ ง. เมื่อรัฐบาลประกาศควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อมิให้ประชาชนต้องซื้อของแพง รัฐบาลต้องใช้มาตรการเสริม 2 ประการ คือ กำหนดบทลงโทษพ่อค้าที่ขายสินค้าในราคาสูงเกินราคาที่รัฐบาลกำหนด (ขายสินค้าเกินราคา) และเพิ่มปริมาณสินค้าชนิดนั้นๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค แต่ถ้าไม่มีมาตรการเสริมดังกล่าว อาจจะทำให้เกิดปัญหา “ ตลาดมืด ” ได้ เนื่องจากพ่อค้าจะกักตุนสินค้าไว้ขายหลังร้านในราคาสูงเกินกว่าที่กำหนด

23. การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ ผู้ปฏิบัติจะต้องมีจิตสำนึกข้อใดก่อนเป็นอันดับแรก
ก. การพึ่งพาตนเองเป็นหลัก
ข.   ความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
ค. ความรอบรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
ง. การร่วมมือกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ตอบข้อ ก. การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ ผู้ปฏิบัติจะต้องมีจิตสำนึกในการพึ่งพาตนเองเป็นอันดับแรก

24. ภาวะที่พ่อค้ากำหนดราคาขายสอนค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ ทำให้ผู้บริโภคซื้อลดน้อยลง สินค้าจึงเหลือและขายไม่หมด เรียกว่าอย่างไร
ก. อุปสงค์ส่วนเกิน
ข.  อุปทานส่วนเกิน
ค. กลไกตาด
ง. อุปทานตลาด
ตอบข้อ ข. อุปทานส่วนเกิน คือ ผู้ขายนำสินค้ามาขายมากเกินความต้องการของผู้ซื้อ ทำให้สินค้าล้นตลาด ขายไม่หมด
อุปสงค์ส่วนเกิน คือ ผู้ซื้อมีความต้องการจะซื้อสินค้ามากกว่าปริมาณสิค้าจริงที่วางจำหน่ายในตลาด ทำให้สินค้าขาดตลาด ไม่พอขาย

25. ข้อใดจัดเป็นการกระจายรายได้ตามหลักเศรษฐศาสตร์
ก. รัฐส่งเสริมกิจการท่องเที่ยวในทุกจังหวัด
ข.  รัฐสนับสนุนสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล
ค. ลูกจ้างได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนด
ง. พนักงานเดินเก็บเงินค่าไฟฟ้าตามบ้าน
ตอบข้อ ค. ในทางเศรษฐศาสตร์การกระจายรายได้แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การกระจายสินค้าและบริการ เป็นการกระจายผลผลิตทั้งในด้านสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น ชาวสวนปลูกผักคะน้าส่งขายให้ผู้บริโภค โรงงานผลิตรองเท้าฟองน้ำส่งสินค้าเข้าสู่ตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคได้ซื้อใช้ และช่างตัดผลให้บริการแก่ลุกค้า เป็นต้น
2. การกระจายรายได้ เป็นการแบ่งปันรายได้หรือตอบแทนให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิตต่างๆ ซึ่งมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้าและบริการนั้นๆ ดังตัวอย่าง เจ้าของโรงงานทำน้ำดื่มบรรจุขวดแห่งหนึ่ง ( เรียกว่า ผู้ประกอบการ ) จะแจกจ่ายรายได้จากการผลิตสินค้าให้แก่เจ้าของการผลิต ดังนี้
***ที่ดิน (ที่ตั้งโรงงาน)   ผลตอบแทนที่ได้รับ คือ  ค่าเช่า
***แรงงาน                 ผลตอบแทนที่ได้รับ คือ  ค่าจ้าง
***ทุน                      ผลตอบแทนที่ได้รับ คือ  ดอกเบี้ย
***ผู้ประกอบการ         ผลตอบแทนที่ได้รับ คือ  กำไร

26. การพัฒนาและบริหารประเทศของรัฐบาลให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ตามพระราชบัญญัติเศรษฐกิจพอเพียงหมายความว่าอย่างไร
ก. ไม่พึ่งต่างประเทศ
ข.  ค่อยเป็นค่อยไป ตามพึ่งตนเองให้มากขึ้น
ค.  ความไม่ประมาท และพึ่งตนเองให้มากขึ้น
ง.  รู้จักประมาณตน และมีเหตุผล
ตอบข้อ ค. การพัฒนาและบริหารประเทศของรัฐบาล ตามพระราชบัญญัติเศรษฐกิจพอเพียงสรุปได้ 5 ประการดังนี้
1. ทางสายกลาง คือ ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พึ่งตนเองให้มากขึ้น
2. ความสมดุลและความยั่งยืน คือ เน้นพัฒนาในลักษณะองค์รวม มีความพอดี มีความหลากหลายและกลมกลืนและเกิดผลยั่งยืน
3. ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล คือ ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ รู้จักพอ และมีเหตุผล
4. ภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก คือ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถป้องกันหรือลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
5. เสริมสร้างคุณภาพคน คือ มีจิตสำนึกในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีไมตรีจิตเอื้ออาทรต่อกัน ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีวินัย มีความพากเพียร พัฒนาความรู้และปัญญาอย่างต่อเนื่อง

27. ข้อใด มิใช่ พื้นฐาน “ เศรษฐกิจพอเพียง ”
ก. ทางสายกลาง
ข.  ความพอประมาณ
ค. ประหยัด
ง. ความมีเหตุผล
ตอบข้อ ค. “ เศรษฐกิจพอเพียง ” ( Sufficiency Economy ) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำโดยมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตลอดจนได้อธิบายคำนิยามของความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม

28. การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ควรปฏิบัติข้อใดก่อน จึงจะสอดคล้องกับปรัชญาข้อนี้
ก. การประกอบสัมมาอาชีวะ
ข.  การไม่แก่งแย่งผลประโยชน์กับผู้อื่น
ค. การละเว้นไม่กระทำความชั่วทั้งปวง
ง. การประหยัดและหารายได้ระหว่างศึกษา
ตอบข้อ ง. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนในแนวทางสายกลาง การประหยัดและหารายได้ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น ถือเป็นการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแนวทางที่ถูกต้อง

29. เมื่อรัฐบาลเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อควบคุมราคาสินค้า จะเกิดผลอย่างไรต่อ “ กลไกราคา”
ก. เป็นการยกเลิกกลไกราคาโดยสิ้นเชิง
ข.  การทำหน้าที่ของกลไกราคาไม่เป็นอิสระตามทฤษฎี
ค. ปล่อยให้กลไกราคาทำหน้าที่อย่างเสรีตามธรรมชาติ
ง. จะเกิดราคาดุลยภาพตายตัวตามที่รัฐบาลกำหนด
ตอบข้อ ข. มีบางกรณีที่รัฐไม่อาจปล่อยราคาสินค้าเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงไปตามกลไกของราคาตามธรรมชาติได้ เพราะจะทำให้ผู้ผลิตได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะกรณีที่ผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณล้นตลาดทำให้ราคาสินค้าตกต่ำ เช่น ยางพารา ทุเรียน ลำไย เป็นต้น รัฐบาลจึงต้องเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิต ซึ่งเป็นผลให้กลไกราคาไม่อาจทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระตามทฤษฎีได้

30. ข้อใด คือ “ การประกันราคาขั้นต่ำ ” ของทางราชการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร
ก. กำหนดราคาขายข้าวสารหอมมะลิสูงสุดถังละ 350 บาท
ข.  กำหนดราคารับซื้อข้าวเปลือกขั้นต่ำเกวียนละ 6,000 บาท
ค. กำหนดราคาส่งออกข้าวสารหอมมะลิตันละ 5,000  บาท
ง. การจัดตั้งโรงสีข้าวประจำตำบลรับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนา
ตอบข้อ ข. การประกันราคาขั้นต่ำ คือ การกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำที่รัฐจะรับซื้อเพื่อช่วยพยุงราคาสินค้ามิให้ตกต่ำ

31.  ที่กล่าวว่า “ สังคมไทย ” เป็นสังคมที่มีโครงสร้างแบบหลวมๆ หมายถึงข้อใด
ก. เป็นสังคมที่ไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์
ข.  เป็นสังคมที่ไม่มีชนชั้น
ค. ไม่ยึดระเบียบกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว
ง. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ตอบข้อ  ค. สังคมไทยที่มีโครงสร้างแบบหลวมๆ คือ สังคมไม่ยึดระเบียบกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว

32. บุคคลที่มีสถานภาพหลายๆอย่างพร้องกัน จะเกิดปัญหาบทบาทขัดกัน หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
ก. เป็นแม่ครัวภัตตาคาร แต่ต้องทำอาหารเช้าให้ลูกๆทุกเช้า
ข.  เป็นตำรวจจราจร แต่ต้องคอยรับส่งลูกไปโรงเรียนทุกวัน
ค. เป็นสมาชิกสภาเทศบาล และเปิดบ่อนการพนันในตลาด
ง. กลางวันทำงานราชการ กลางคืนขับรถแท็กซี่หารายได้เสริม
ตอบข้อ ค. บทบาทขัดกัน เกิดจากบุคคลบางคนมีสถานภาพหลายสถานภาพซ้อนกันในเวลาเดียวกันทำให้บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบตามสถานภาพของตนต้องขัดแย้งกัน ตัวอย่างเช่น นายประชาเป็นครูและเป็นพ่อค้าเปิดร้านขายของชำ ได้จำหน่ายบุหรี่และสุราให้นักเรียนและนักศึกษาเป็นปกติเสมอๆ ดังนั้น การมีสถานภาพ 2 สถานภาพซ้อนกันของนายปรีชา จึงทำให้บทบาทขัดแย้งกัน และมีผลกระทบต่อการจัดระเบียบทางสังคม จึงควรเลือกสถานภาพที่ไม่ต้องทำให้เกิดปัญหาบทบาทขัดกัน

33. ข้อใดเป็นการขัดเกลาทางสังคมโดยอ้อม
ก. พี่สอนน้องให้รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี
ข.  ครูแนะวิธีให้นักเรียนเป็นคนดี
ค. แม่ดุว่ารุนแรงเมื่อรู้ว่าลูกหัดสูบบุหรี่
ง. ชมละครโทรทัศน์ส่งเสริมศีลธรรม
ตอบข้อ ง. การขัดเกลาสังคมโดยอ้อม เป็นการขัดเกลาทางอ้อมที่ผู้รับเกิดการเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจ เกิดความซึมซับสิ่งที่ดีงามเข้าไปในจิตใจของตนและกลายเป็นค่านิยมที่ดีและพึงประสงค์ เช่น ได้เห็นแบบอย่างการทำความดีของตัวละคร หรือนักร้อง นักแสดงที่ได้รับรางวัล “ ลูกกตัญญู ” เป็นต้น
ทั้งนี้สื่อที่ช่วยให้เกิดการขัดเกลาทางสังคมโดยอ้อม ได้แก่ ข่าวและละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ หนังสือนวนิยาย และรายการวิทยุ รวมทั้งการเข้ากลุ่มกับเพื่อนๆ ที่มีแบบอย่างพฤติกรรมที่ดีงาม

34. เมื่อสมาชิกของสังคมคนหนึ่ง ได้รับ “ สถานภาพ ” อย่างหนึ่ง สิ่งที่เขาจะได้รับตามมาคือข้อใด
ก. การยอมรับจากสังคม
ข.  กฎระเบียบของสถาบันสังคม
ค. สิทธิ หน้าที่ และบทบาท
ง. สิทธิประโยชน์จากสังคม
ตอบข้อ ค. สถานภาพทางสังคม ( Social Status) หมาย