1. พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 บังคับใช้เมื่อใด
ก. 28 พฤษภาคม 2535
ข. 18 พฤษภาคม 2535
ค. 18 พฤษภาคม 2553
ง. 28 พฤษภาคม 2553
ตอบ ก. 28 พฤษภาคม 2535
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. ใครคือผู้ลงนามผู้รับสนองพระบรมราชโองการในพรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
ก. อานันท์ ปันยารชุน
ข. พลเอก สุจินดา คราประยูร
ค. อานันท์ ปันยารชุน
ง. พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ตอบ ก. อานันท์ ปันยารชุน
3. ข้อใด ที่ พรบ. นี้ได้เปลี่ยนมาเป็น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก. กระทรวงวิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
ข. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ค. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ง. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ตอบ ค. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
4. ตาม พรบ.นี้มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม หมายความว่าอย่างไร
ก. ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ
ข. ค่ามาตรฐานคุณภาพสัตว์ พืช
ค. ดุลยภาพของธรรมชาติ อันได้แก่ สัตว์ พืช
ง. ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ อากาศ เสียง และ สภาวะอื่นๆ
ตอบ ง. ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ อากาศ เสียง และ สภาวะอื่นๆ
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
“มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม” หมายความว่า ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ อากาศ เสียง และ สภาวะอื่นๆ ของสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดเป็นเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5. ใครคือผู้แต่งตั้ง เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ข. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ค. รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ด้านอำนวยการ)
ง. ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
“เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการเกี่ยวกับ การควบคุมมลพิษตามพระราชบัญญัตินี้
6. ข้อใดที่คือองค์กรที่ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก. องค์กรเอกชนซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
ข. ที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องโดยตรงกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ค. มีวัตถุประสงค์ในทางการเมือง หรือมุ่งค้าหากำไรจากการประกอบกิจกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ง. องค์กรเอกชนซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ
ตอบ ค. มีวัตถุประสงค์ในทางการเมือง หรือมุ่งค้าหากำไรจากการประกอบกิจกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
มาตรา 7 เพื่อเป็นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้องค์กรเอกชนซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย หรือกฎหมายต่างประเทศที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องโดยตรงกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการเมือง หรือมุ่งค้าหากำไรจากการประกอบกิจกรรมดังกล่าว มีสิทธิขอจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม* ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
7. ใครมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรการป้องกันและจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ หรือภาวะมลพิษที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ข. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ค. รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ด้านอำนวยการ)
ง. ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาตรา 10 เพื่อเป็นการป้องกันแก้ไข ระงับหรือบรรเทาเหตุฉุกเฉิน หรือเหตุภยันตราย จากภาวะมลพิษตามมาตรา 9 ให้รัฐมนตรีกำหนดมาตรการป้องกันและจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อ แก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า
8. ใครคือประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ง. ปลัดกระทรวงกลาโหม
ตอบ ข. นายกรัฐมนตรี
9. ใครมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. คณะรัฐมนตรี
ค. ปลัดกระทรวงกลาโหม
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม
ตอบ ข. คณะรัฐมนตรี
10. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีว่าระอยู่ในตำแหน่งความละกี่ปี
ก. 6 ปี
ข. 5 ปี
ค. 4 ปี
ง. 3 ปี
ตอบ ง. 3 ปี