เเจกเเนวข้อสอบนักสังคมสงเคราะห์

หมวดหมู่สินค้า: แจกแนวข้อสอบ

20 สิงหาคม 2564

ผู้ชม 207 ผู้ชม

ข้อใดคือชื่อตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์

  • Social Development Worker ค. Social Worker
  • Assistant Social Development Officer ง. Human Resource Development Officer

ตอบ   ค. Social Worker

Social Development Worker    คือ  นักพัฒนาสังคม

Assistant Social Development Officer   คือ  เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม

Human Resource Development Officer   คือ  นักพัฒนาทัพยากรบุคคล

  1. นักสังคมสงเคราะห์ หมายความว่าอย่างไร
  • ผู้ซึ่งปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม ที่สำเร็จการศึกษาไม่ตํ่ากว่าปริญญาตรีทุกสาขา
  • ผู้ซึ่งปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม ที่สำเร็จการศึกษาไม่ตํ่ากว่าปริญญาตรีสาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  • ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ การแนะนำ สงเคราะห์ ให้คำปรึกษาแก่เด็กพิเศษที่มีปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจและครอบครัว
  • ถูกทั้ง ข  และ   ค

ตอบ   ง.  ถูกทั้ง  ข  และ   ค

  1. ข้อใดคือหน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์
  • ให้คำปรึกษาแนะนำผู้มาใช้บริการ
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยากแก่นักสังคมสงเคราะห์ของ หน่วยงานต่าง ๆ
  • ประสานงานกับผู้มารับบริการ และหน่วยงานหรือองค์กรบริการทางสังคมที่ผู้รับบริการต้องเกี่ยวข้องด้วย หรือต้องการความช่วยเหลือ
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

  1. ข้อใดคือคุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพนักสังคมสงเคราะห์
  • เป็นคนเปิดกว้าง มองโลกในแง่ดี มีทัศนะคติที่ดีต่อผู้คนและต่อปัญหา
  • เป็นบุคคลที่เปิดรับต่อประมวลปัญหาที่ต้องเข้าไปแก้ไข
  • มีใจรัก ชอบช่วยเหลือ เพราะงานสังคมสงเคราะห์ คือ การบริการ ให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

  1. นักสังคมสงเคราะห์มีกี่ประเภท
  • 2 ประเภท                                                    ค. 4  ประเภท
  • 3 ประเภท                                                    ง.  5  ประเภท

ตอบ   ข. 3  ประเภท           

ประเภทที่ ๑ คือ นักสังคมสงเคราะห์อาชีพ หมายถึง ผู้ที่ได้ผ่านการศึกษาทางสังคมสงเคราะห์ศาสตร์จากสถาบันการศึกษาทางสังคมสงเคราะห์จนได้ปริญญาทางด้านนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์เราก็ยังเรียก ว่า นักสังคมสงเคราะห์อาชีพ
ประเภทที่ ๒ คือผู้อาสาปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  “อาสาสมัครสังคมสงเคราะห์” หมายถึงผู้ที่มีความศรัทธาในการทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยไม่รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนใดๆ งานที่ทำเป็นงานที่ไม่เหลือความสามารถ และรับทำโดยพิจารณาตามเวลาว่างที่มี
ประเภทที่  ๓ คือผู้ช่วยงานสังคมสงเคราะห์ หมายถึงผู้ทำงานเคียงข้างนักสังคมสงเคราะห์อาชีพให้ความช่วยเหลือ เตรียมงาน และมีส่วนร่วมในการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของวิชาชีพคนเหล่านี้ไม่มีคุณวุฒิทางสังคมสงเคราะห์ การทำงานนั้นได้รับค่าตอบแทน

  1. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์
  • เพื่อการสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนที่ช่วยตนเองไม่ได้ให้สามารถช่วยตนเองได้
  • เพื่อการแก้ไขปัญหาสังคม เป็นการแก้ไขปัญหาสังคมให้ลดน้อยหรือหมดไป
  • เพื่อการพัฒนาสังคม
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

  1. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์
  • การวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ ค. การทำงานคนเดียว
  • การทำงานกับบุคคล ง. การจัดระเบียบและการพัฒนาชุม

ตอบ  ค. การทำงานคนเดียว

การปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์

  1. การทำงานกับบุคคล เรียกว่า การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย หรือการทำงานระดับบุคคล
  2. การทำงานกับกลุ่ม เรียกว่า การสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน หรือการทำงานระดับกลุ่ม
  3. การจัดระเบียบและการพัฒนาชุมชนเรียกว่า การทำงานระดับชุมชน
  4. การวิจัยทางสังคมสงเคราะห์
  5. การบริหารงานสังคมสงเคราะห์
  6. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดบริการสวัสดิการสังคมแก่เด็กและเยาวชน อายุกี่ปี
  • อายุ 3  ปี  ถึง 18 ปี
  • อายุ 6  ปี  ถึง 18 ปี
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปี
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 20 ปี

ตอบ   ค. อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปี

  1. สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านใด
  • การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป้นกรณีพิเศษ
  • การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
  • การจัดที่พักอาศัยอาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

  1. ข้อใดคือการดำเนินงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เกี่ยวกับสตรี
  • การสงเคราะห์ ฟื้นฟูและคุ้มครองสวัสดิภาพแก่สตรีในสถานแรกรับและสถานคุ้มครอง
  • พัฒนาอาชีพให้บริการแก่สตรีที่ได้รับความช่วยเหลือจากวงจรการค้าประเวณี
  • การพัฒนาศักยภาพสตรีในศูนย์ฝึกอาชีพและในชุมชน
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

  1. วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ คือวันใด
  • 21 กันยายน ของทุกปี                               ค. 20 กันยายน ของทุกปี
  • 21 ตุลาคม ของทุกปี ง. 20  ตุลาคม ของทุกปี

ตอบ       ข. 21 ตุลาคม ของทุกปี     

  1. หลักการที่สำคัญที่นักสังคมสงเคราะห์ต้องยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงานคือ
  • หลักการยอมรับ
  • หลักการไม่ตำหนิติเตียนผู้ที่มีปัญหา
  • หลักการเก็บรักษาความลับ
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

งานสังคมสงเคราะห์มีหลักการที่สำคัญที่นักสังคมสงเคราะห์ต้องยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงานดังนี้

1.หลักการยอมรับ หมายถึง การยอมรับผู้มาขอรับบริการว่าเป็นมนุษย์คนหนึ่ง มีศักดิ์ศรี มีความต้องการ และมีความสามารถในตนเอง

2.หลักในเรื่องปัจเจกบุคคล หมายถึง การเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตัว มีความ   แตกต่างกันทั้งในด้านรูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง อุปนิสัยใจคอ ความรู้สึกทางด้านจิตใจ การแสดงออก เป็นต้น

3.หลักการไม่ตำหนิติเตียนผู้ที่มีปัญหา หมายถึง การที่นักสังคมสงเคราะห์จะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับบริการ ไม่ติเตียนหรือประณามการกระทำของผู้รับบริการ

4.หลักการตัดสินใจด้วยตนเอง โดยถือว่าบุคคลทุกคนมีสิทธิในการเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตและแก้ไขปัญหาของเขาเอง นักสังคมสงเคราะห์จะเป็นแต่เพียงผู้ที่คอยชี้แนะเท่านั้น

5.หลักการเก็บรักษาความลับ เป็นจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์อย่างหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่มีปัญหาทุกคนย่อมไม่ต้องการให้เรื่องราวหรือปัญหาของเขาเป็นที่เปิดเผยล่วงรู้ต่อบุคคลอื่น นักสังคมสงเคราะห์จึงจำเป็นต้องรักษาความลับของผู้รับบริการไม่นำไปเปิดเผยให้ผู้อื่นล่วงรู้ เว้นแต่ในกรณีการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ขอรับบริการเท่านั้น

6.หลักการรู้จักบทบาทของตนเอง นักสังคมสงเคราะห์จะต้องระลึกถึงบทบาทของตนเองอยู่ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานไม่ใช้อารมณ์สนองตอบปฏิกิริยาของผู้รับบริการ

  1. วิธีการสังคมสงเคราะห์แบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
  • 2 ประเภท                                                    ค.  4  ประเภท
  • 3 ประเภท                                                    ง.  5  ประเภท

ตอบ   ก. 2  ประเภท

  1. ข้อใด ไม่ใช่ ประเภทของวิธีการสังคมสงเคราะห์
  • ระดับจุลภาค ค. ระดับทุติยภูมิ
  • ระดับมหภาค ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ  ค. ระดับทุติยภูมิ

วิธีการสังคมสงเคราะห์แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือระดับจุลภาค Micro Social Work และระดับมหภาค Macro Social Work

  1. การให้บริการสังคมสงเคราะห์โดยตรงแก่บุคคลผู้มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือเป็นรายบุคคล กลุ่ม หรือชุมชน คือวิธีการสังคมสงเคราะห์ประเภทใด
  • การสังคมสงเคราะห์จุลภาค ค. การสังคมสงเคราะห์ทุติยภูมิ
  • การสังคมสงเคราะห์มหภาค                 ง.  ไม่มีข้อถูก

ตอบ   ก. ระดับจุลภาค

  1. การสังคมสงเคราะห์ในระดับสูงขึ้นไปหรือระดับเบื้องบนคือวิธีการสังคมสงเคราะห์ประเภทใด
  • การสังคมสงเคราะห์จุลภาค ค. การสังคมสงเคราะห์ทุติยภูมิ
  • การสังคมสงเคราะห์มหภาค                 ง.  ถูกทั้ง   ก  และ  ข

ตอบ   ข. การสังคมสงเคราะห์มหภาค

  1. ข้อใด ไม่ใช่   การสังคมสงเคราะห์จุลภาค
  • การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย ค. การสังคมสงเคราะห์ในระดับผู้บริหาร
  • การสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน ง. เป็นการสังคมสงเคราะห์จุลภาคทุกข้อ

ตอบ   ค. การสังคมสงเคราะห์ในระดับผู้บริหาร

  1. การสังคมสงเคราะห์จุลภาคมีประโยชน์อย่างไร
  • ขจัดปัญหาการบกพร่องในหน้าที่ของบุคคลและกลุ่ม
  • ขจัดปัญหาในชุมชนต่าง ๆ
  • พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล กลุ่ม ชุมชน และสังคมให้ดียิ่งขึ้น
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

  1. Micro Social Work คือ
  • การสังคมสงเคราะห์จุลภาค ค. การสังคมสงเคราะห์ทุติยภูมิ
  • การสังคมสงเคราะห์มหภาค                 ง.  ไม่มีข้อถูก

ตอบ   ก. การสังคมสงเคราะห์จุลภาค

  1. Macro Social Work คือ
  • การสังคมสงเคราะห์จุลภาค ค. การสังคมสงเคราะห์ทุติยภูมิ
  • การสังคมสงเคราะห์มหภาค                 ง.  ไม่มีข้อถูก

ตอบ   ข. การสังคมสงเคราะห์มหภาค