1.ในการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลังเราควรแยกรีเลย์ป้องกันออกโดยแบ่งตามระดับการป้องกันหากเราต้องการป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือหม้อแปลงไฟฟ้า เราต้องใช้รีเลย์ประเภทใด
1) Primary relay
2) Secondary relay
3) Back-up relay
4) Auxiliary relay
เฉลย ข้อ 1
2.pickup value หมายถึง
1) ค่าที่มากที่สุดทำให้รีเลย์ทำการปิดหน้าสัมผัสที่ปกติปิด หรือเปิดหน้าสัมผัสปกติเปิด
2) ค่าที่น้อยที่สุดทำให้รีเลย์ทำการปิดหน้าสัมผัสที่ปกติปิด หรือเปิดหน้าสัมผัสปกติเปิด
3) ค่าที่น้อยที่สุดของปริมาณที่กระตุ้นรีเลย์แล้วรีเลย์ทำงาน
4) ค่าที่มากที่สุดของปริมาณที่กระตุ้นรีเลย์แล้วรีเลย์ทำงาน
เฉลย ข้อ 3
4.หม้อแปลงเฟสเดียวสองขดลวด 10 MVA 80 kV / 20 kV มีการป้องกันด้วยรีเลย์ผลต่าง ถ้าเลือก CT ด้านแรงดันสูงให้มีอัตราส่วน 150:5 จงเลือกอัตราส่วนของ CT ด้านแรงดันต่ำ
1) 150:5 2) 300:5
3) 450:5 4) 600:5
เฉลย ข้อ 4
วิธีทำ Ip = 10e6 / 80e3
= 125 A
Is = 10e6 / 20e3
กระแส CT ด้าน Ip , I1 = 125*(5/150)
= 4.17 A
กระแส CT ด้าน Is, I2 = 500*(5/x)
= 125*(5/150)
X = 600
เลือก CT ด้านแรงดันต่ำ 600:5
เพื่อให้ผลต่างกระแส I1 – I2 = 0
5.กระแสอินเตอร์รัพท์ (Interupting current) ของเซอร์กิตเบรกเกอร์คืออะไร
1) กระแสสูงสุดในครึ่งไซเคิลแรกหลังจากการลัดวงจร
2) กระแสที่ไหลผ่านหน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์ในขณะกำลังจะเปิดวงจร
3) กระแสต่ำสุดที่จะทำให้เซอร์กิตเบรกเกอร์เริ่มทำงาน
4) กระแสลัดวงจรที่เกิดขึ้นในระบบ
เฉลย ข้อ 2