การเตรียมตัวสอบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

หมวดหมู่สินค้า: การเตรียมตัวสอบราชการ

29 กรกฎาคม 2564

ผู้ชม 332 ผู้ชม

การเตรียมตัวสอบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

คำแนะนำในการสอบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ในการสอบเข้ากรมกิจการเด็กและเยาวชน บางตำแหน่งไม่ต้องใช้ผลสอบภาค ก. ของ ก.พ. เช่น พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ส่วนในบางตำแหน่งต้องใช้ผลสอบ กพ. เช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ วิชาที่ใช้สอบจะมีวิชาความสามารถทั่วไป วิชาเฉพาะตำแหน่ง และสอบสัมภาณ์
นอกจากนี้ควรมีความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ ค่านิยม ผู้บริหาร โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง 2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ 3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
การสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย
เนื้อหาสำหรับการสอบใน ภาค ข. หรือความสามารถเฉพาะตำแหน่ง หากเป็นตำแหน่งที่นิยมแพร่หลาย มีความต้องการเป็นจำนวนมาก เช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ฯลฯ มักจะมีตำรา ให้อ่านประกอบ ซึ่งแหล่งใหญ่ๆ จะอยู่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก แต่ในกรณีที่ไม่มีตำราขาย ก็ให้ดูรายละเอียดแนบท้ายในประกาศรับสมัคร จะมีบอกไว้ เช่น พรบ.ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลของกรม ภารกิจ วิสัยทัศน์ ผู้บริหาร ฯลฯ โดยปกติแล้วในระเบียบการจะไม่บอกว่าข้อสอบเป็นแบบปรนัย หรืออัตนัย เพราะฉะนั้นจึงต้องอ่านเผื่อไว้ หลังจากสมัครสอบเสร็จ ประมาณ 30 วัน ให้หลังจะมีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ และประกาศวันสอบ สถานที่สอบ ซึ่งจะประกาศก่อนสอบภาค ข. ประมาณ 10 -15 วัน จุดนี้ต้องตราตราอย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้ไปผิดสนามสอบ เพราะบางสาขาหากจำนวนผู้เข้าสอบมาก จะมีการแยกสนามสอบ ทั้งนี้ต้องอ่านรายละเอียดต่างๆ ด้วยเช่น นำบัตรประจำตัวสอบ บัตรประจำตัวประชาชน ต้องแต่งกายอย่างไร นำอุปกรณ์ใดไปได้บ้าง หากบอกให้นำไปเฉพาะปากกา นั่นแสดงว่า ข้อสอบเป็นแบบอัตนัย แต่หากบอกเป็นดินสอ แสดงว่า ข้อสอบเป็นแบบปรนัย แต่หากให้นำทั้งสองอย่าง ก็แสดงว่า มีคละเคล้ากัน สำหรับการแต่งกาย หากเป็นผู้หญิงต้องใส่กระโปรงไป ผู้ชายห้ามกางเกงยีนส์ เสื้อยืด เสื้อคอปกโดยเด็ดขาด สำหรับเรื่องเด็กเส้น เด็กฝาก ต่างๆนาๆ อย่าเพิ่งไปคิดให้จิตฟุ้งซ่าน ในความเป็นจริง หน่วยงาน กรม กอง ต่างๆ ของทางราชการล้วนแล้ว แต่มี บรรดา ลูกจ้างทั้งชั่วคราวและประจำ พนักงานราชการ หรือแม้กระทั่งข้าราชการที่ต้องการสอบเปลี่ยนสายงาน และความก้าวหน้าในตำแหน่งด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ว่าจะเส้นมากน้อยเพียงใด ก็ต้องสอบภาค ข. ให้ผ่านก่อน ยามนี้ต้องมุ่งมั่น แน่วแน่ กับการสอบ


กรณีสอบผ่านภาค ข. ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60 โดยรายชื่อจะประกาศเรียงลำดับตามหมายเลขประจำตัวนั้นๆ ในประกาศจะระบุถึง วัน เวลา และสถานที่ในการเข้ารับการสอบภาค ค. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยมากจะเป็นสถานที่ภายในกรมฯนั้นๆ
การสอบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ชายควรโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย ผู้หญิงเสื้อผ้าหน้าผมต้องเยี่ยม แนะนำให้สวมสูทด้วยจะดูดีมีระดับ แต่ไม่ควรแต่งหน้าแบบงานรับปริญญาเป็นเจ้าป้าโดยเด็ดขาด คำถามที่จะโดนถาม ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณ ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง ความรู้เกี่ยวกับกรมฯ ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รอบแห่งการสอบภาค ค. หรือรอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง เป็นรอบที่ต้อง อาศัยกำลังภายใน รอบนี้ต่างหาก ที่ต้องระมัดระวังบรรดา เด็กเส้น เด็กฝากทั้งหลาย เป็นรอบแห่งการวิ่งเข้าหาผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในกระทรวง กรม กอง ต้องรีบนำกระเช้าของขวัญติดไม้ติดมือ ไปกราบไหว้ท่านโดยด่วน ให้ท่านเอ็นดู อุปการคุณ เนื่องจากคะแนนสอบในภาคนี้ มีประมาณกึ่งหนึ่งของคะแนนข้อเขียน และค่อนข้างมีผลชี้เป็น ชี้ตาย ชี้ได้ ชี้ไม่ได้ วันประกาศผลจะเรียงคะแนนตามลำดับมากไปหาน้อย ต้องรอลุ้นอย่างระทึกใจ ทั้งนี้ในประกาศรับสมัครจะบอกว่ารับจำนวนเท่าใด หากติดลำดับที่เรียกบรรจุในครั้งแรก จะมีหนังสือเรียกตัวไปบรรจุ แต่หากไม่ได้รับการบรรจุในรอบแรก ต้องคอยติดต่อข่าวสารอย่างตลอด บัญชีการสอบแข่งขันจะมีอายุประมาณ 2 ปี กรณีได้การบรรจุในรอบแรก ต้องเตรียมหลักฐานทั้งตัวจริงและสำเนาไปให้พร้อม อันจะได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบปริญญาบัตร ใบแสดงผลการเรียน ใบทะเบียนสมรส ทั้งคู่สมรส และของบิดา มารดา ขั้นตอนการบรรจุ จะต้องกรอกเอกสาร กพ.7 ซึ่งเปรียบเสมือนทะเบียนประวัติของตัวเราเอง ในวันนั้นอาจจะมีการปฐมนิเทศ ภารกิจของกรมฯ สิทธิผลประโยชน์ที่พึงได้ สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร การทดลองราชการ ระเบียบการลา ฯลฯ

  

วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ( 200 คะแนน )
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยการสัมภาษณ์ ( 100 คะแนน ) เป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกอย่างอื่นของผู้เข้ารับการคัดเลือก
ทั้งนี้ผู้ที่จะผ่านการคัดเลือกจะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนในการสอบแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
ส่วนในกรณีตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ จะดำเนินการคัดเลือกโดยวิธีสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกอย่างอื่นของผู้เข้ารับการคัดเลือก และทดสอบความรู้ทางด้านพยาบาลศาสตร์โดยการปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาคัดเลือก โดยผู้ที่ผ่านการคักเลือกจะต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

1 ความรู้เกี่ยวกับ- กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
2 แนวข้อสอบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
3 แนวคิดการพัฒนาสังคม สวัสดิการสังคม และความมั่นคงขอมนุษย์
4 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
5 การเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์เข้าทำงาน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

 

ข้อสอบวิศวกรโยธากรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบวิศวกรเครื่องกลกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักประชาสัมพันธ์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผนกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบสถาปนิกสอบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนายช่างโยธากรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบวิศวกรไฟฟ้ากรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนายช่างไฟฟ้ากรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบบรรณารักษ์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบพนักงานบริหารงานทั่วไปกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักทรัพยากรบุคคลกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักระบบงานคอมพิวเตอร์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการคอมพิวเตอร์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบพนักงานเขียนแบบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนายช่างสำรวจกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบพนักงานธุรการกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักจัดการงานทั่วไปกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบพนักงานประจำสำนักงานกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการสัตวบาลกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิทยาศาสตร์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิทยาศาสตร์การแพทย์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุขกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบพนักงานการกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการคลังกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการวัฒนธรรมกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการศาสนากรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักสังคมสงเคราะห์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักจิตวิทยากรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการตรวจสอบภายในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบเจ้าหน้าที่ประมงกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการประมงกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการสถิติกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบเศรษฐกรกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบเจ้าพนักงานพัสดุกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบ นักวิชาการแรงงานกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการศึกษากรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการโสตทัศนศึกษากรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการสิ่งแวดล้อมกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบช่างยนต์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิชาการขนส่งกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักวิเทศสัมพันธ์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ข้อสอบนักการตลาดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ