สอบบรรจุสำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี
หมวดหมู่สินค้า: สำนักงานที่ดินจังหวัด
21 ตุลาคม 2564
ผู้ชม 162 ผู้ชม
1. หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
บริหารงานในฐานะหัวหน้าหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่ากรมในราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการ จัดระบบงาน อำนวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจ แก้ปัญหาเกี่ยวกับงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.1 ดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน กฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กฎหมายว่าด้วยช่างรังวัดเอกชน และกฎหมายว่าด้วย การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมในจังหวัดนนทบุรี
1.2 ดำเนินการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.3 ดำเนินการรังวัด การรังวัดพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ สอบเขต ตรวจสอบเนื้อที่
1.4 ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นหลายแปลง การรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกัน การทำแผนที่สำหรับที่ดิน
1.5 ดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และภาษีอากรเกี่ยวกับการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
1.6 กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาและสำนักงานที่ดินอำเภอกาฬสินธุ์
1.7 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2. ลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ประกอบด้วย
2.1 ด้านแผนงาน
2.1.1 วางแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน เพื่อกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานที่ดินจังหวัด / สาขา / อำเภอ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ของกรมที่ดิน
2.1.2 บูรณาการแผนงาน โครงการขนาดใหญ่ กิจกรรม เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานที่ดิน
2.1.3 ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย และ ความยุ่งยากซับซ้อนมาก ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานที่ดิน
2.1.4 ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำ ประสาน ติดตามแผนงาน/โครงการของสำนักงานที่ดิน ให้สอดคล้องกับนโยบาย/แผนงาน/โครงการของจังหวัด กรม กระทรวง และรัฐบาล
2.1.5 เสนอความเห็นในการร่าง ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
2.2 ด้านบริหารงาน
2.2.1 กำหนดกลยุทธ์ ระบบงาน และวิธีการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อเป็น แนวทางการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าของสำนักงานที่ดินจังหวัด / สาขา / อำเภอ
2.2.2 มอบหมาย กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไขในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่หลากหลาย และเบ็ดเสร็จของสำนักงานที่ดิน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.2.3 วินิจฉัย สั่งการ เรื่องที่มีขอบเขตผลกระทบในวงกว้าง หรือมีความซับซ้อนของประเด็นปัญหา ซึ่งต้องพิจารณาอนุมัติ อนุญาต การดำเนินการต่าง ๆ ตามภารกิจที่สำนักงานที่ดินรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.2.4 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือ หรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ
2.2.5 ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือองค์กร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในฐานะเป็นผู้มีบทบาทหลัก เพื่อรักษาผลประโยชน์ของราชการและประเทศชาติ
2.2.6 พิจารณา วินิจฉัย ให้คำปรึกษา เสนอความเห็นในการควบคุมและคุ้มครองที่ดินของรัฐ การจัดที่ดินเพื่อประชาชน การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดและใบแทน การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) การอนุญาตทำการค้าที่ดิน การจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การรังวัด การสอบเขตที่ดินและการตรวจสอบ เนื้อที่ การแบ่งแยกที่ดินออกเป็นหลายแปลง การรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกัน การทำแผนที่สำหรับที่ดิน การจัดเก็บค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ค่าภาษี อากรเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือทำธุระกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
2.2.7 พิจารณา วินิจฉัย ให้คำปรึกษา เสนอความเห็นในการตอบข้อหารือ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับข้อกฎหมายหรือแนวทางการปฏิบัติงาน
2.2.8 ดำเนินการพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานที่ดินให้สามารถบริการประชาชน ได้ถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
2.2.9 กำกับ ดูแล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา และสำนักงานที่ดินอำเภอ รวมทั้งการปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย
2.3 ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
2.3.1 จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในสำนักงานที่ดินจังหวัด / สาขา / อำเภอ ที่มีความหลากหลายทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพให้สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
2.3.2 ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสำนักงานที่ดิน และบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.3.3 ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา เพื่อให้เกิดความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
2.3.4 ปรับปรุงหรือหาแนวทางวิธีการใหม่ ๆ หรือกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในการผลิตผลงาน การบริการ หรือผลการดำเนินงานที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น
2.4 ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
2.4.1 วางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของสำนักงานที่ดินจังหวัด / สาขา / อำเภอ ที่ต้องรับผิดชอบสูง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจ และเป็นไปตามเป้าหมายของกรมที่ดิน
2.4.2 ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณจำนวนมาก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
2.4.3 กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำงานด้านบริหารงานทั่วไป การเงิน การคลัง งบประมาณ การพัสดุ การประชาสัมพันธ์ การบริหารราชการภายในหน่วยงานให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
3. ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
3.1 ความรู้และความสามารถ
3.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานกรมที่ดิน
3.1.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
(1) ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานด้านกฎหมายที่ต้องมีเพื่อการปฏิบัติงานตามภารกิจ
(1.1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(1.2) ประมวลกฎหมายที่ดิน อาญา แพ่งและพาณิชย์ วิธีพิจารณา ความอาญา วิธีพิจารณาความแพ่ง
(1.3) พระราชบัญญัติ
(1.3.1) ว่าด้วยอาคารชุด
(1.3.2) ว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
(1.3.3) ว่าด้วยช่างรังวัดเอกชน
(1.3.4) ว่าด้วยการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม
(1.3.5) วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
(1.3.6) ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
(1.3.7) จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
(1.4) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจพ.ศ. ๒๕๕๐
(2) ความรู้พิเศษที่ใช้ ในการปฏิบัติงาน ด้านกฎหมายต่างๆที่ ต้องมีความรอบรู้ เพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
(2.2) พระราชบัญญัติ
(2.1.1) ป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔
(2.1.2) จัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๔๗
(2.1.3) การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๒๔
(2.1.4) จัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑
(2.1.5) ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐
(2.1.6) การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๗
(2.1.7) ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗
(2.1.8) ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘
(2.1.9) พัฒนาที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๖
(2.1.10) ทางหลวง พ.ศ. ๒๕๒๘
(2.1.11) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๔๐
ฯลฯ
(2.2) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
(2.2.1) ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ๓๖๕) พ.ศ. ๒๕๔๓
ฯลฯ (ตามนโยบายรัฐบาล)
(2.3) มีความรอบรู้ในงานด้านการทะเบียนที่ดิน เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามหลักกฎหมาย หลักวิชาการและวิชาชีพเฉพาะด้านการทะเบียนที่ดิน การรังวัด
(2.4) มีความรอบรู้ในการทำงานด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ แนวทางปฏิบัติ สามารถศึกษา วิเคราะห์ และให้ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ การแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของสังคม เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ
(2.5) มีความรู้ ความสามารถในการจัดการ การบริหารราชการภายในหน่วยงาน และตรวจสอบการดำเนินงานนโยบายด้านอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง เกิดผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของรัฐ
(2.6) มีความรู้ในการใช้หลักวิชาชีพด้านเทคนิคเกี่ยวกับการรังวัดทำแผนที่ให้สอดคล้องตามหลักสากล
(2.7) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญหลักวิชาการ หลักวิชาชีพด้านเทคนิคการรังวัดทำแผนที่ให้สอดคล้องตามหลักสากล การเป็นผู้นำทางวิชาการ การพัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการ ในการบริหารงานที่ดิน การจัดทำฐานข้อมูลที่ดินด้วยระบบดิจิตอลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในการเพิ่มศักยภาพ การบริการ ด้านคุ้มครองสิทธิในที่ดินของรัฐและเอกชน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น สอดคล้องกับทิศทางนโยบายการพัฒนาประเทศ
(2.8) ความรอบรู้ ประสบการณ์งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยมีการจัดทำแผน การบริหารแผนงานเชิงกลยุทธ์ เพื่อขับเคลื่อนภารกิจหลักของกรม ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ภารกิจและนโยบายรัฐบาล อย่างมีประสิทธิภาพเพื่ออำนวยความยุติธรรม และป้องกันการกระทบสิทธิ หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น
3.2 มีทักษะ ดังนี้
3.2.1 มีทักษะในการใช้ดุลยพินิจในการ ตัดสินใจแก้ไขปัญหางานงานด้านที่ดิน ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก หรือมีผลกระทบต่อความสำเร็จของงาน เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประหยัดงบประมาณ
3.2.2 มีทักษะในความเป็นผู้นำประกอบการตัดสินใจการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับงานด้านที่ดินที่เกิดขึ้น
3.2.3 มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การตีความ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การใช้ดุลยพินิจ ในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุดในการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์/ปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อนหรือปัญหา ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน
3.2.4 มีทักษะความรอบรู้ในการบริหาร โดยเป็นผู้ริเริ่ม ผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีจิตมุ่งบริการ และวางแผนกลยุทธ์ โดยสามารถสร้างแผน การปฏิบัติงานและแนวทางการปฏิบัติ ที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์
3.2.5 มีทักษะในการใช้ดุลยพินิจในการ ตัดสินใจแก้ไขปัญหางานงานด้านที่ดิน ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก หรือมีผลกระทบต่อความสำเร็จของงาน เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประหยัดงบประมาณ
3.2.6 มีทักษะความเป็นผู้นำการตัดสินใจการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับงานด้านที่ดินที่เกิดขึ้น
3.2.7 มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การตีความ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุดในการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์/ปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อนหรือปัญหา ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน
3.2.8 มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาแนวคิด หรือวิธีการทำงานแนวใหม่ด้านที่ดิน
3.2.9 มีทักษะในการวินิจฉัย วิเคราะห์ กลั่นกรองก่อนการตัดสินใจพิจารณาสั่งการและเสนอความเห็นในงานด้านการทะเบียนที่ดิน การรังวัด
3.1.10 มีทักษะด้านเทคนิคการบริหารสมัยใหม่สามารถและประสบการณ์งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศในการบริหารงานที่ดิน การจัดทำฐานข้อมูลที่ดินด้วยระบบดิจิตอล
3.3 สมรรถนะ
3.3.1 ด้านการใช้ความคิด
(๑) ความสามารถในการวางแผน ความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องหลายด้าน ได้แก่ ด้านการทะเบียนที่ดิน การรังวัด การวางแผนการปฏิบัติตามแผนงาน
(๒) ทักษะในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ
(๓) ความคิดเชิงระบบ
(3.1) ความสามารถในการบริหารการจัดการงานด้านการทะเบียนที่ดิน การรังวัดที่มีความหลากหลาย ซับซ้อนทั้งด้านเทคนิค และกระบวนการทำงาน รวมทั้งการกำกับ ดูแล แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงาน
(3.2) ความสามารถในการบูรณาการ ทั้งหลักวิชาการ เทคนิค กฎ ระเบียบ หลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาระบบงานรูปแบบ และวิธีการบริหารงานที่ดิน เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงาน
3.3.2 ด้านสัมพันธภาพ
(๑) จิตสำนึกการบริการ
(๒) ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร เป็นความสามารถในการติดต่อ สื่อสารกับผู้อื่น หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือการให้ผู้อื่นร่วมทำงานให้
(๓) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม เป็นความสามารถในการบูรณาการงานด้านการทะเบียนที่ดินการรังวัด ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ และประสานขอความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระดับนโยบาย ทั้งภายในและภายนอก ทั้งในงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหรืออาจจะแตกต่างกันในเชิงเนื้อหา เพื่อผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
(๔) มีคุณธรรมและจริยธรรม
(๕) ความมุ่งมั่นในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จ
(๖) ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
เป็นความสามารถในการติดต่อสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในการดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหา การกระตุ้น ชักจูง โน้มน้าว เพื่อให้ทุกภาค/ส่วนมีแนวคิด ทัศนคติที่ดี ต่อหน่วยงาน หรือการดำเนินการของหน่วยงาน และให้การสนับสนุน ร่วมมือ ร่วมใจ และผลักดันงานใน ความรับผิดชอบ ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว
ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการหน่วยงานและจังหวัดสำนักงานที่ดินกาฬสินธุ์ <<
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการหน่วยงานและจังหวัดสำนักงานที่ดินกาฬสินธุ์ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<