1. ข้อใดเป็นสิ่งที่จำเป็นในการศึกษาประวัติศาสตร์
ก. รู้เวลาหรือช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้น
ข. มีหลักฐานชั้นต้นให้ค้นคว้ามากเพียงพอ
ค. เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในสมัยประวัติศาสตร์
ง. ยังไม่เคยมีใครศึกษาเหตุการณ์นั้นมาก่อน
2. ทุกข้อเป็นความสัมพันธ์ของเวลาหรือช่วงเวลาที่มีต่อประวัติศาสตร์ ยกเว้นข้อใด
ก. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดมานานแล้วเท่าใด
ข. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นและสิ้นสุดเมื่อใด
ค. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อนหลังเมื่อเปรียบเทียบกัน
ง. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ใดเป็นจริงเหตุการณ์ใดเป็นเท็จ
3. ข้อความใดต่อไปนี้ไม่อาจระบุเวลาทางประวัติศาตร์ได้
ก. กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
ข. ก่อนสงครามเวียดนามยุติลง
ค. แรกตั้งกรุงละโว้เป็นราชธานี
ง. สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
4. ศักราชใดต่อไปนี้ที่มีอายุยาวนานที่สุด
ก. มหาศักราช
ข. คริสต์ศักราข
ค. พุทธศักราช
ง. ฮิจเราะห์ศักราช
5. เพราะอะไรเราจึงควรรู้จักวิธีการเทียบศักราช
ก. ช่วยป้องกันมิให้ตีความหลักฐานผิด
ข. จะได้ใช้เอกสารที่มีศักราชต่างกันได้
ค. เพื่อประหยัดเวลาในการตีความหลักฐาน
ง. จะได้ใช้เอกสารที่เป็นของชนชาติอื่นได้
6. “ ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎร
โดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ
เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร...”
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เวลา 13 นาฬิกา 45 นาที
ข้อความข้างต้นนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรัตนโกสินทร์ศกที่เท่าใด
ก. ร.ศ. 150
ข. ร.ศ. 157
ค. ร.ศ. 160
ง. ร.ศ. 167
7. “ ประวัติศาสตร์สมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกในปี พ.ศ.1966 ”
พ.ศ. 1966 สามารถเทียบได้ตรงกับคริสต์ศักราชใด
ก. คริสต์ศักราช 1423
ข. คริสต์ศักราช 1234
ค. คริสต์ศักราช 1699
ง. คริสต์ศักราช 2509
8. ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย เราควรกำหนดศักราชในการศึกษาเป็นอะไร เพื่อสะดวก
แก่การทำความเข้าใจของผู้อื่น
ก. มหาศักราช เพราะเป็นศักราชที่ใช้มาแต่ครั้งสุโขทัย
ข. จุลศักราช เพราะสามารถเทียบเป็นศักราชอื่นได้ง่าย
ค. พุทธศักราช เพราะผู้คนสมัยปัจจุบันนิยมใช้ศักราชนี้
ง. คริสต์ศักราช เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สากล
9. หลักฐานในข้อใดที่มิได้นำมาใช้ในการแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์สากล
ก. เทคโนโลยีที่ทำเครื่องมือเครื่องใช้
ข.เหตุการณ์สำคัญที่เกิดกับมนุษยชาติ
ค. มีหลักฐานบ่งบอกถึงการใช้ตัวอักษร
ง. การประกอบพิธีกรรมด้านลัทธิความเชื่อ
10. เรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แรกเริ่มสุดเราจะค้นพบหลักฐานตามข้อใด
ก. ใช้สีแดงวาดภาพไว้ตามฝาผนังถ้ำ
ข. นำหินมากะเทาะทำเป็นขวานหิน
ค. รู้จักนำกระดูกสัตว์มาทำเครื่องประดับ
ง. การประดิษฐ์เครื่องดนตรีประเภทกลอง
11. ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ควรเริ่มต้นที่ขั้นตอนใดเป็นลำดับแรก
ก. สำรวจตนเองว่าต้องการทราบเรื่องราวใด
ข. ค้นคว้าหาหลักฐานแล้วตั้งประเด็นคำถาม
ค. ตรวจดูว่ามีใครศึกษาเรื่องใดมาก่อนแล้วบ้าง
ง. สอบถามผู้รู้ว่าอยากให้เราศึกษาประเด็นอะไร
12. วิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนใดที่ผู้ศึกษาจะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ
ก. การกำหนดหัวเรื่อง ข. การรวบรวมหลักฐาน
ค. การวิเคราะห์หลักฐาน ง. การเรียบเรียงนำเสนอข้อมูล
13. ข้อใดถือเป็นหลักฐานชั้นต้นทางประวัติศาสตร์
ก. ผลสำรวจของนักโบราณคดี
ข. พิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์
ค. คำแปลศิลาจารึกที่อยู่ในเว็บไซด์
ง. คำให้การของผู้ที่อยู่ในการชุมนุม
14. “ ดังนั้น พอจะสรุปได้ว่า ช่วงปีครองราชย์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงควรที่จะใช้
ช่วงปี พ.ศ. 1822 – 1841 เนื่องจากมีข้อมูลมารองรับข้อสันนิษฐานที่สมเหตุผลมากกว่า ”
ข้อความนี้ถือเป็นขั้นตอนใดของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ก. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
ข. การเรียบเรียงนำเสนอข้อมูล
ค. การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล
ง. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา
15. วัตถุประสงค์ของการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาประวัติศาสตร์คืออะไร
ก. ให้ตระหนักในความพากเพียรของบรรพบุรุษไทย
ข. เห็นคุณค่าและความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์
ค. ได้รับทราบเรื่องราวที่เป็นจริงมีหลักฐานมายืนยัน
ง. พื่อฝึกให้เรียนรู้แล้วนำไปใช้กับการศึกษาวิชาอื่น
16. พื้นที่แถบดินแดนไทยในสมัยโบราณถูกเรียกขานว่าสุวรรณภูมิ เพราะเหตุใด
ก. เป็นแหล่งผลิตทองคำที่มีคุณภาพ
ข. ผู้คนใช้เหรียญทองคำในการซื้อขาย
ค. เรียกตามชื่ออาณาจักรที่มีความยิ่งใหญ่
ง. เป็นดินแดนที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์
17. วิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคหินเก่ามีลักษณะสอดคล้องกับข้อใด
ก. เก็บของป่า ล่าสัตว์ อยู่อาศัยตามเพิงผา
ข. เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ อยู่ตามที่ราบริมน้ำ
ค. จับปลา เลี้ยงสัตว์ เร่ร่อนไปตามทุ่งกว้าง
ง. ทำหัตถกรรม ค้าขาย ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่ม
18. ในทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการด้านใดของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างสมและ
สืบทอดทางวัฒนธรรม
ก. รู้จักใช้ภาษาพูดเพื่อสื่อสาร
ข. การนำดินมาทำเครื่องปั้นดินเผา
ค. ทำการเพาะปลูกและตั้งบ้านเรือน
ง. อยู่รวมกันเป็นกลุ่มมีหัวหน้าปกครอง
19. ชุมชนที่มีลักษณะตามข้อใด จะมีแนวโน้มพัฒนาไปเป็นเมืองหรืออาณาจักรโบราณได้
รวดเร็ว
ก. ปิดกั้นไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเยือน
ข. มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ค. ผู้คนเคยอยู่อาศัยติดต่อมาตั้งแต่ครั้งยุคหิน
ง. เป็นศูนย์กลางการเดินทางและการค้า
20. อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ชุมชนหลายแห่งในสุวรรณภูมิมีความเจริญรุ่งเรืองและ
พัฒนาไปเป็นรัฐโบราณ
ก. ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดีย
ข. ค้นพบวิธีนำเหล็กมาหลอมใช้แทนสำริด
ค. การนำระบบการปกครองแบบชนเผ่ามาใช้
ง. รู้จักวิธีใช้เรือเป็นพาหนะในการติดต่อขนส่ง
21. “หลักฐานที่สำรวจพบในชุมชน มีสิ่งของเครื่องใช้ทำจากสำริด เหล็ก รวมทั้งเสมา
ธรรมจักรและกวางหมอบที่ทำมาจากศิลา” จากหลักฐานที่ปรากฏ พอจะสันนิษฐานได้ว่า
ชุมชนแห่งนี้ น่าจะได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรใด
ก. ศรีวิชัย
ข. ทวารวดี
ค. สุพรรณภูมิ
ง. โยนกเชียงแสน
22. สาเหตุที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจจากคาบสมุทรมลายู น่าจะเกิดจากปัจจัยใด
ก. กษัตริย์ลังกายกกองทัพเรือเข้ามาโจมตี
ข. ได้รับความเสียหายจากภัยแผ่นดินไหว
ค. จีนส่งเรือสำเภาออกมาค้าขายเองโดยตรง
ง. ไม่อาจแข่งอำนาจกับอาณาจักรที่เกิดภายหลัง
23. ข้อใดเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า อาณาจักรละโว้เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอม
ก. ลักษณะการแต่งกายของชนชั้นสูง
ข. การปกครองที่นำระบอบกษัตริย์มาใช้
ค. ข้อความในศิลาจึกที่บันทึกด้วยอักษรขอม
ง. มีศาสนสถานและเทวรูปแบบขอมหลายแห่ง
24. เรื่องราวของอาณาจักรโบราณกับจังหวัดในข้อใดที่สัมพันธ์กัน
ก. โคตรบูรณ์ : นครพนม
ข. ลังกาสุกะ : สุราษฎร์ธานี
ค. หริภุญชัย : ลำปาง
ง. ศรีวิชัย : นครศรีธรรมราช
25. ภาพรวมการตั้งราชธานีของอาณาจักรโบราณ ส่วนใหญ่มักจะเลือกตั้งในพื้นที่ทำเลใด
ก. พื้นที่ราบขนาบด้วยภูเขา
ข. ที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน
ค. ที่ดอนกว้างน้ำท่วมไม่ถึง
ง. ชายฝั่งทะเลที่พื้นที่เป็นทราย
26. อาณาจักรโบราณในข้อใดที่ดำรงความเป็นอาณาจักรมาได้ยาวนานที่สุด
ก. ล้านนา
ข. อิศานปุระ
ค. โยนกเชียงแสน
ง. ตามพรลิงค์
27. ข้อใดเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้การศึกษาเรื่องราวของอาณาจักรโบราณในดินแดนไทยจึงยัง
ไม่ใคร่มีความกระจ่างชัดมากนัก
ก. ยังไม่มีผู้ใดทำการศึกษาอย่างจริงจัง
ข. ขาดแคลนบุคคลากรและงบประมาณ
ค. หลักฐานที่จะใช้สืบค้นหลงเหลืออยู่น้อย
ง. มีข้อจำกัดด้านตัวอักษรที่ไม่อาจแปลความได้
28. ยุทธศาสตร์แรกที่ผู้นำคนไทยปฏิบัติก่อนจะสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีคืออะไร
ก. ขอกำลังสนับหนุนจากกลุ่มคนไทย
ข. ส่งทูตไปติดต่อขอซื้ออาวุธจากจีน
ค. ย้ายที่ตั้งเมืองไปอยู่ในบริเวณที่ราบ
ง. ขับไล่กองกำลังของพวกขอมออกไป
29. ข้อใดมิใช่ปัจจัยสำคัญที่มีผลอย่างมากต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
ก. กลุ่มผู้นำคนไทยมีความเข้มแข็ง
ข. อิทธิพลของขอมที่เสื่อมอำนาจลง
ค. จีนส่งอาวุธและเสบียงมาช่วยเหลือ
ง. ความมุ่งมั่นของคนไทยที่อยากเป็นอิสระ
30. เหตุผลที่ราชธานีต้องส่งเชื้อพระวงศ์ไปปกครองดูแลเมืองลูกหลวงคืออะไร
ก. เป็นเมืองยุทธศาสตร์มีกำลังพลมาก
ข. เพื่อเป็นที่ฝึกหัดว่าราชการงานเมือง
ค. อยู่ไกลราชธานีมักเกิดการกบฏบ่อยครั้ง
ง. เพื่อช่วยกำกับดูแลเมืองประเทศราชอีกชั้นหนึ่ง