เเจกเเนวข้อสอบนักวิชาการเเรงงาน

หมวดหมู่สินค้า: แจกแนวข้อสอบ

21 สิงหาคม 2564

ผู้ชม 257 ผู้ชม

1.     การแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการแจ้งจะต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าใดของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง 

ก. ร้อยละ 10

ข. ร้อยละ  5

ค. ร้อยละ  20

ง. ร้อยละ  15 

ตอบ  ง. ร้อยละ  15

 

2.     สถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งมีลูกจ้าง 400 คน ถ้าลูกจ้างประสงค์จะแจ้งข้อเรียกร้องเพื่อให้นายจ้างแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลต่อลูกจ้าง 400 คน ลูกจ้างจะต้องรวบรวมรายชื่อและลายมือชื่อลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นให้ได้จำนวนเท่าใด 

ก. ไม่น้อยกว่า 30 คนขึ้นไป

ข. ไม่น้อยกว่า 60 คนขึ้นไป

ค. ไม่น้อยกว่า 90  คนขึ้นไป

ง. ไม่น้อยกว่า 120 คนขึ้นไป

ตอบ  ข. ไม่น้อยกว่า 60 คนขึ้นไป

 

3.      องค์การของฝ่ายนายจ้าง  เรียกว่าอะไร 

ก. สมาคมนายจ้าง

ข. สหภาพแรงงาน 

ค. สหภาพนายจ้าง

ง. สมาคมลูกจ้าง 

ตอบ  ก. สมาคมนายจ้าง

 

4.     องค์การของฝ่ายลูกจ้าง  เรียกว่าอะไร 

ก. สมาคมนายจ้าง

ข. สหภาพแรงงาน

ค. สหภาพนายจ้าง

ง. สมาคมลูกจ้าง 

ตอบ  ข. สหภาพแรงงาน

 

5.     กรณีที่สหภาพแรงงานแจ้งข้อเรียกร้องแทนลูกจ้าง สหภาพแรงงานจะต้องมีสมาชิกเป็นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่จะแจ้งข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าใดของ จำนวนลูกจ้างทั้งหมด 

ก. ไม่น้อยกว่าร้อยละ  30

ข. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

ค. ไม่น้อยกว่าร้อยละ  10

ง. ไม่น้อยกว่าร้อยละ  40 

ตอบ  ข. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

 

6.     ในการแจ้งข้อเรียกร้อง ถ้าลูกจ้างแจ้งข้อเรียกร้องเอง ในข้อเรียกร้องจะต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าใดของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง 

ก. ร้อยละ 20

ข. ร้อยละ  15

ค. ร้อยละ  35

ง. ร้อยละ 25 

ตอบ  ข. ร้อยละ  15

 

7.     กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิ หน้าที่ระหว่างนาย ลูกจ้าง โดยกำหนดเกี่ยวกับอะไรบ้าง

ก. การใช้แรงงาน

ข. มาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง 

ค. การจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน

ง. ถูกทุกข้อ 

ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ

 

8.     กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับอะไร 

ก.       ความสงบเรียบร้อยของประชาชน 

ข.       ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการจัดการแรงงาน 

ค.       ความอยู่เย็นเป็นสุขในการทำงาน 

ง.       ความมั่นคงในการทำงาน 

ตอบ   ก. ความสงบเรียบร้อยของประชาชน

 

9.     บทบัญญัติที่เป็นข้อห้าม ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  ใช้คำว่าอะไร

ก. ห้าม

ข. ห้ามมิให้ 

ค. อย่า

ง. ห้ามกระทำ 

ตอบ   ข. ห้ามมิให้

 

10.  ข้อต้องปฏิบัติ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  ใช้คำว่าอะไร

ก. ให้

ข. ต้อง

ค. จะต้อง

ง. ถูกทั้ง  ก  และ  ข 

ตอบ  ง. ถูกทั้ง  ก  และ  ข

 

11.  ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับลักษณะสำคัญของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 

ก.       เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ข.       เป็นกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

ค.       เป็นกฎหมายมหาชนกึ่งเอกชน

ง.       เป็นกฎหมายทางสังคม

ตอบ  ค. เป็นกฎหมายมหาชนกึ่งเอกชน

 

12.  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541ใช้บังคับแก่ใคร

ก. นายจ้าง  ลูกจ้าง

ข. ราชการส่วนท้องถิ่น

ค. ราชการส่วนภูมิภาค

ง. พ่อค้า  แม่ค้า

ตอบ  ก. นายจ้าง  ลูกจ้าง

 

13.  นายจ้าง  มีกี่ประเภท 

ก.  2  ประเภท

ข.  3  ประเภท

ค.  4  ประเภท

ง.  5  ประเภท 

ตอบ  ค.   4  ประเภท ได้แก่

1. นายจ้างตัวจริง หมายถึง บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ซึ่งเป็นนายจ้างตัวจริง

2. นายจ้างตัวแทน หมายถึง ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล

3. นายจ้างรับมอบ หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับมอบให้ทำงานแทนนายจ้างตัวจริงหรือนายจ้างตัวแทน

4. นายจ้างรับถือ หมายถึง ผู้ประกอบการที่มีกิจการจ้างเหมาค่าแรง ซึ่งถือว่าเป็นทั้งนายจ้างของลูกจ้างตนเองและนายจ้างของลูกจ้างซึ่งมารับเหมาค่าแรงในกิจการของตนด้วย

 

14.  ข้อใด  หมายถึงลูกจ้าง 

ก. ครูอัตราจ้างในโรงเรียน

ข. อาชีพแม่บ้าน 

ค. พนักงานบริษัท

ง. ถูกทุกข้อ 

ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ

ลูกจ้าง หมายถึงลูกจ้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน 

ลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลา ลูกจ้างสัญญาพิเศษ และรวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านด้วย

 

15.  กฎกระทรวงได้กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อวัน 

ก.  7  ชั่วโมง

ข.  8  ชั่วโมง

ค.  6  ชั่วโมง

ง.   9  ชั่วโมง 

ตอบ  ข.  8  ชั่วโมง

 

16.  กฎกระทรวงได้กำหนดเวลาทำงานเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินกี่ชั่วโมง 

ก.  40  ชั่วโมง

ข.  42  ชั่วโมง

ค.  48  ชั่วโมง

ง.   50  ชั่วโมง 

ตอบ   ค.   48  ชั่วโมง

 

17.  ในกรณีงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างกฎกระทรวงได้กำหนดเวลาทำงานปกติวันหนึ่งต้องไม่เกินกี่ชั่วโมง 

ก.   7  ชั่วโมง

ข.  8  ชั่วโมง

ค.  6  ชั่วโมง

ง.   9  ชั่วโมง 

ตอบ   ก. 7  ชั่วโมง

 

18.  จากข้อ  51 เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้น  กฏกระทรวงกำหนดเวลาทำงานสัปดาห์หนึ่งไม่เกินกี่ชั่วโมง 

ก.  40  ชั่วโมง

ข.  42  ชั่วโมง

ค.  48  ชั่วโมง

ง.   50  ชั่วโมง 

ตอบ  ข.  42  ชั่วโมง

 

19.  ข้อใดเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง 

ก. งานเชื่อมโลหะ

ข. งานที่เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี

ค. งานผลิตสารเคมีอันตราย

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ

งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ได้แก่ 

(๑) งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือในที่อับอากาศ

(๒) งานที่เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี

(๓) งานเชื่อมโลหะ

(๔) งานขนส่งวัตถุอันตราย

(๕) งานผลิตสารเคมีอันตราย

(๖) งานที่ต้องทำด้วยเครื่องมือหรือเครื่องจักรซึ่งผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตราย

(๗)งานที่ต้องทำเกี่ยวกับความร้อนจัดหรือความเย็นจัดอันอาจเป็นอันตราย

 

20.  กฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่าเท่าใดเป็นลูกจ้าง 

ก.  15  ปี

ข.  18  ปี

ค.  13  ปี

ง.   20  ปี