เเจกเเนวข้อสอบเศษฐกร

หมวดหมู่สินค้า: แจกแนวข้อสอบ

20 สิงหาคม 2564

ผู้ชม 263 ผู้ชม

1. ราคาของเงินอาจเทียบได้กับสิ่งใดมากที่สุดในข้อต่อไปนี้
 ก.  ทองคำหนัก 0.0014 ออนซ์  ข.  อัตราแลกเปลี่ยนแปลงเงินสกุลหลัก 
 ค.  สัดส่วนเงินสำรองตามกฎหมาย  ง.  อัตราดอกเบี้ย
 
2.  อุปสงค์และอุปทานของเงินเป็นตัวกำหนดสิ่งใดต่อไปนี้ 
 ก.  อัตราดอกเบี้ย  ข.  สภาพคล่องของสินทรัพย์ 
 ค.  ระดับการออม  ง.  การแลกเปลี่ยนสินค้า 
 
3.  ดุลภาพในตลาดเงินจะสอดคล้องกับสภาพในข้อใด 
 ก.  ปริมาณเงินพอดีกับความต้องการซื้อสินค้าและบริการ 
 ข.  อุปทานของเงินพอดีกับอุปสงค์ของเงิน 
 ค.  ความต้องการเงินพอดีกับความต้องการซื้อสินค้าและบริการ 
 ง.  ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบพอดีกับสภาพเศรษฐกิจ 
 
4.  กำหนดให้เช่นเดียวกับข้อ 4 หากมีเงินเพิ่มอุปทานของเงิน จะมีแนวโน้มใดเกิดขึ้น 
 ก.  ระดับรายได้เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม  ข.  ระดับรายได้เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยลด 
 ค.  ระดับรายได้ลด อัตราดอกเบี้ยลด  ง.  ระดับรายได้ลด อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม
 
5.  กำหนดให้การลงทุนเป็นฟังก์ชั่นของอัตราดอกเบี้ย และอุปสงค์ของเงินฟังก์ชั่นของระดับรายได้และอัตรา
 ดอกเบี้ยหากระดับการลงทุนเพิ่มขึ้นจะมีแนวโน้มใดเกิดขึ้น 
 ก.  ระดับรายได้สูงขึ้นและอัตราดอกเบี้ยลดลง 
 ข.  ระดับรายได้ลดลงและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น 
 ค.  ระดับรายได้สูงขึ้นและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น 
 ง.  ระดับรายได้ลดลงและอัตราดอกเบี้ยลดลง 
 
6. นโยบายการคลังจะมีผลกระทบมากภายใต้เงื่อนไขใด 
 ก. เส้น LM มีความลาดชันน้อย เส้น IS มีความลาดชันน้อย
 ข.  เส้น LM มีความลาดชันมาก เส้น IS มีความลาดชันน้อย
 ค.  เส้น LM มีความลาดชันน้อย เส้น IS มีความลาดชันมาก
 ง.  เส้น LM มีความลาดชันมาก เส้น IS มีความลาดชันมาก
 
7.  ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 20 % หมายถึง
 ก.  ปริมาณสินค้าทุกชนิดเพิ่มขึ้น 20% ข.  ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 20 บาท
 ค.  อัตราเงินเฟ้อเพิ่มข้น 20 % ง.  สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น 20 %
 
8.  Real NNP Norminal NNP แตกต่างกันอย่างไร
 ก.  Real NNP จะมีค่าต่ำกว่า Norminal NNP เนื่องจากเป็นมูลค่าที่ได้หักเงินเฟ้อแล้ว
 ข.  Real NNP เป็นมูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ณ ราคาทุน Norminal เป็นมูลค่าที่คำนวณ ณ ราคา ตลาด
 ค.  Real NNP เป็นมูลค่าที่คำนวณโดยหักค่าเสื่อมราคาแล้ว Norminal NNP คำนวณโดยไม่หักค่าเสื่อมราคา
 ง.   Real NNP และ Norminal NNP จะเหมือนกันเพราะคำนวณทางรายได้ย่อมเท่ากับรายจ่าย
 
9.  ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการลงทุนของภาคเอกชน 
 ก.  อัตราดอกเบี้ย   ข.  การคาดการณ์ในอนาคต
 ค. ราคาสินค้าสูงขึ้น   ง.  อัตราการเพิ่มขึ้นของประชาชน
 
10.  ถ้าปริมาณเงิน (MS) ในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นจะส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใด
 ก.  คนจะกู้เงินมากขึ้นเพราะดอกเบี้ยต่ำ 
 ข.  อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเพื่อจูงใจให้คนฝากเงินมากขึ้น 
 ค.  ธุรกิจจะกู้เงินจากต่างประเทศมากขึ้น 
 ง.  ต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น 
 
11.  A.C. Pigou เชื่อว่า การที่ระดับราคาในระบบเศรษฐกิจลดลงจะมีผลตามข้อใด
 ก.  ไม่มีผลใดในช่วง Liquidiy Trap   ข.  มูลค่าแท้จริงของทรัพย์สินจะลดลง
 ค.  รายได้ ณ ดุลภาพในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ง. การบริโภครวมลดลง
 
12.  สมมติว่าประสิทธิภาพของแรงงาน (Labor Productivity) ในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นน่าจะมีผลต่อ
 อุปทานรวม (Aggregate Supply) ดังในข้อใดได้บ้าง
 ก.  อุปทานรวมเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนของระดับราคา 
 ข.  เส้นอุปทานรวมขยับไปทางขวา 
 ค.  เส้นอุปทานรวมอยู่ที่เดิม 
 ง.  ถูกทั้งข้อ ก และ ข 
 
13.  ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง 
 ก.  ดุลการชำระเงินประกอบด้วยดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งรวมเงินโอน และเงินทุนเคลื่อนย้าย 
 ข.  ดุลบัญชีเดินสะพัดประกอบด้วยดุลการค้า ดุลบริการบริจาค 
 ค.  นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์ในประเทศไทยจะรวมอยู่ในรายการดุลการชำระเงิน 
 ง.  การซื้อโรงงานในต่างประเทศคนไทยไม่รวมอยู่ในเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ 
 
14.  การลดค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบตามข้อใดมากที่สุด 
 ก.  เกิดภาวะเงินเฟ้อในประเทศ 
 ข.  เกิดภาวะเงินตึงตัว 
 ค.  ความต้องการสินเชื่อเพื่อลงทุนในประเทศสูงขึ้น 
 ง.  สินค้าส่งออกมีราคาถูกลงในตลาดโลก 
 
15.  การที่ประเทศหนึ่งมีดุลการชำระเงินเกินดุลจำนวนมาก อาจเกิดผลกระทบดังข้อใด 
 ก.  เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 
 ข.  สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์สูงขึ้น 
 ค.  อุปทานของเงินเพิ่มขึ้น 
 ง.  ถูกหมดทุกข้อ 
 
16.  ข้อใดน่าจะเป็นผลของการเพิ่มประมาณรายจ่ายของรัฐบาล 
 ก.  การลงทุนภาคเอกชนอาจจะลดลง  ข.  อัตราดอกเบี้ยลดลง 
 ค.  การบริโภคของครัวเรือนลดลง  ง.  การออมภาคเอกชนลดลง
 
17.  ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะขยายพันธบัตรรัฐบาลให้ธนาคารพาณิชย์ในภาวะเช่นใด 
 มากที่สุด 
 ก.  ธนาคารแห่งประเทศไทยขาดธนบัตรที่ใช้หมุนเวียน 
 ข.  เกิดภาวะเงินฝืดค่อนข้างรุนแรง 
 ค.  ภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว 
 ง.  เกิดภาวะเงินเฟ้อ 
 
18.  ข้อใดน่าจะเป็นผลของการลดภาษี 
 ก.  การใช้จ่ายของรัฐบาลลดลง  ข.  การบริโภคเพิ่มขึ้น 
 ค.  การออมลดลง  ง.  การจ้างงานลดลง
 
19.  ข้อใดน่าจะเป็นผลของการเพิ่มการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ 
 ก.  รายได้ประชาชนติดลบ  ข. ระดับราคาลดลง 
 ค.  การบริโภคลดลง  ง. ไม่มีข้อถูก 
 
20.  คำว่า Ceowding-Out Effeet มีความหมายใกล้เคียงข้อใดมากที่สุด
 ก.  การใช้จ่ายภาครัฐบาลก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มในภาคเอกชน 
 ข.  การลงทุนภาคเอกชนมีความไวต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาก 
 ค.  รัฐบาลใช้จ่ายเงินไปเท่ากับการจัดเก็บภาษีพอดี 
 ง.  รัฐบาลขยายพันธบัตรในประเทศเพื่อนำเงินมาใช้จ่า ทำให้ภาคเอกชนลงทุนน้อยลง