การเตรียมตัวสอบอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา

หมวดหมู่สินค้า: การเตรียมตัวสอบราชการ

30 กรกฎาคม 2564

ผู้ชม 137 ผู้ชม

การเตรียมตัวสอบอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา


คำแนะนำในการสอบอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
คำแนะนำในการเตรียมตัวสอบ
เมื่อเรากำหนดเป้าหมายแล้วว่าเราจะสอบเพื่อเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาและอัยการผู้ช่วย ก็ควรศึกษาข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับการสอบ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบต่างๆที่เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกว่าการที่จะเข้าสอบได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง โดยท่านสามารถหาได้ในเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้นๆ (www.ojc.coj.go.th และwww.cmiss.ago.go.th) ขั้นตอนต่อไปก็ตรวจสอบเกี่ยวกับการสอบว่าข้อสอบที่เราต้องการจะเอาชนะให้ได้นั้นเป็นอย่างไร สอบกี่วัน วันละกี่ข้อ วิชาอะไรบ้าง ให้เวลาสอบกี่ชั่วโมง สอบประมาณช่วงเดือนไหนแล้วคำนวณดูว่ามีเวลาเหลืออีกกี่วันแล้วนับถอยหลังจากวันที่วางแผนนี้ไปถึงวันสอบ เราจะทราบเวลาที่เหลือในการเตรียมตัวสอบสำหรับใช้ในการทำตารางอ่านหนังสือของเราได้ เมื่อเรารู้ข้อมูลข้างต้นแล้วก็เลือกหนังสือที่จะให้อ่านสำหรับเตรียมตัวสอบ โดยลิสต์ออกมาว่าวิชาใดออกข้อสอบกี่ข้อ อยู่ในข้อใดของข้อสอบ แล้วจะใช้หนังสือเล่มไหนในการเตรียมสอบ
การอ่านตัวบทควรให้ความสำคัญพอประมาณ วิธีอ่านคือให้อ่านเหมือนอ่านหนังสือ อ่านทำความเข้าใจเป็นเรื่องๆ ไม่ได้ท่องแบบคำต่อคำ และในการอ่านรอบแรกจะอ่านคร่าวๆทุกมาตราเสียก่อนอย่างไวๆ โดยในมาตราสำคัญจะขีดเส้นและทำไฮไลไว้ โดยในการทำไฮไลนั้นควรจะใช้หลายสี เนื่องจากหากอ่านตัวบททั้งหลายแล้วจะเห็นได้ว่ากฎหมายแต่ละมาตราจะมีส่วนเหตุและส่วนผลอยู่ในมาตรานั้นๆเอง หากมาตราใดมีส่วนที่แบ่งย่อยๆได้ก็ควรจะเขียนเลข ๑,๒,๓...กำกับไว้เพื่อความสะดวกในการอ่านทำความเข้าใจในการอ่านครั้งต่อไป


เทคนิคอีกอย่างหนึ่งก็คือเวลาอ่านตัวบทรอบหลังๆที่ไม่ต้องขีดเส้นหรือทำไฮไลแล้วนั้น ควรอ่านตัวบทออกเสียงเพื่อบันทึกลงในโทรศัพท์ไว้สำหรับตอนไม่ได้นั่งอ่านหนังสือ เช่น เวลาเดินไปข้างนอก ทานข้าว อาบน้ำ หรือออกกำลังกาย จะช่วยให้เราจำเป็นเสียงได้เลย
อีกประการหนึ่งในเวลาอ่านหนังสือควรจะปิดตัวบท ไม่เปิดตัวบทไปด้วยเนื่องจากเป็นการนึกตัวบทเองในขณะที่อ่านหนังสือ เมื่อหนังสือกล่าวถึงเนื้อหาในมาตราใดก็ให้พยายามนึกตัวบทมาตรานั้นๆให้ออก แต่ถ้านึกไม่ออกก็ต้องเปิดดูทันทีเพื่อให้จำได้อีกครั้ง
การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกานั้นสำคัญมากสำหรับการสอบในสนามผู้ช่วยผู้พิพากษา ส่วนสนามใหญ่อัยการผู้ช่วยสิ่งที่ควรอ่านเพิ่มเติมคือคำชี้ขาดความเห็นแย้งของอัยการสูงสุดและข้อหารือที่ได้จัดพิมพ์ไว้ในหนังสืออัยการนิเทศ
การฝึกทำข้อสอบเก่านับว่าเป็นขั้นตอนที่จำเป็นมากสำหรับการสอบในระดับนี้ เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ขอบเขตของเนื้อหาที่ออกสอบ รู้จักการจับประเด็น รู้จักการเรียบเรียงคำตอบ การทำข้อสอบควรจะหัดทำบ่อยๆ โดยการนั่งเขียนข้อสอบจริงๆไม่ใช่อ่านข้อสอบเก่าเฉยๆ ต้องเขียนด้วย โดยฝึกเขียนก่อนนอนวันละ ๓ ข้อใช้เวลา ๑ ชั่วโมง เท่ากับข้อละ ๒๐ นาที ซึ่งจะทำให้เราสามารถเขียนข้อสอบได้ไว เนื่องจากเวลาสอบจริง ๑๐ ข้อ ๔ ชั่วโมงนั้นเฉลี่ยแล้วจะต้องทำข้อละ ๒๔ นาที จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการเขียนไม่ทัน การตอบข้อสอบควรจะมีคำขึ้นต้นให้ดูสละสลวย “กรณีตามปัญหามีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า...” หากตอบแบบวางหลักก็ต่อด้วย “ตามประมวล...มาตรา...มีหลักกฎหมายว่า” แล้วก็วินิจฉัยไป หากตอบแบบฟันธงก็ “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่...เป็นการ...ทั้งนี้ตามประมวล...มาตรา...” และเมื่อวินิจฉัยเสร็จก็ฟันธง “ดังนั้น...” อะไรก็ว่าไป ในขั้นตอนการวินิจฉัยนั้นควรจะพยายามนึกคำในตัวบทเอามาใส่ให้มากที่สุด นึกถึงหลักกฎหมายในประเด็นที่คำถามชี้ให้ตอบเอามาตอบให้มากที่สุด
#?ข้อสอบ?/คำถามเป็นแบบไหน???
ส่วนใหญ่จะเป็นคำถามเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของอัยการ/อัยการสูงสุด และส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น อำนาจสอบสวน การฟ้องคดี, ตัวบท ป.วิ.อ. และอาจจะถามฎีกาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำถามนั้นๆ แล้วแต่โต๊ะ
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
?#?การสอบสัมภาษณ์อัยการผู้ช่วย? ลักษณะการสอบสัมภาษณ์เป็นยังไง
- ให้ท่านนึกย้อนหลังไปเมื่อตอนสอบสัมภาษณ์เนติบัณฑิต รูปแบบการสอบสัมภาษณ์จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน เช่น ห้องใหญ่ๆ โล่งๆ มีโต๊ะสอบหลายๆ โต๊ะวางอยู่ภายในห้องนั้น แต่ละโต๊ะมีกรรมการสอบสัมภาษณ์ประมาณ 2-3 คน (ส่วนใหญ่จะ 2 คน) มีกระดาษคำถามหนึ่งใบวางอยู่บนโต๊ะ ผู้เข้าสอบนั่งรอเรียกคิวที่ด้านหน้าห้อง เมื่อถึงคิวตน เจ้าหน้าที่จะเรียกให้ไปนั่งโต๊ะที่ว่าง (อันนี้แล้วแต่ดวงว่าจะได้โต๊ะไหน กรรมการคนใด)
เมื่อไปนั่งที่โต๊ะแล้ว กรรมการจะให้ท่านแนะนำตัวเองเบื้องต้น เช่น ชื่อ-สกุล, สำเร็จการศึกษาจากที่ไหน ระดับใดบ้าง, จากนั้นก็จะให้ท่านอ่านคำถามในกระดาษบนโต๊ะ แล้วท่านก็ตอบหรืออธิบายไปตามนั้น กรรมการอาจมีคำถามเพิ่มเติมจากกระดาษนั้นได้ เช่น ฎีกาที่เกี่ยวข้อง หรือคำถามส่วนตัวทั่วๆ ไป (ระยะเวลาการสอบใช้เวลาประมาณ 5-15 นาที แล้วแต่กรรมการสอบแต่ละโต๊ะ)
?#?การเตรียมตัวทำอย่างไร????
การสอบสัมภาษณ์อัยการผู้ช่วยจะไม่มีคะแนน มีแต่ผ่านกับไม่ผ่าน (ปกติจะผ่าน) แต่การตอบสัมภาษณ์ให้ราบรื่นก็เป็นเรื่องสำคัญ เช่น การแต่งกาย ผู้เข้าสอบควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย (ปกติก็ใส่เสื้อสีขาว กางเกงดำ/กระโปรงดำ) ควรเตรียมสูทสีดำไปด้วย ผู้ชายควรตัดผมให้เรียบร้อย ผู้หญิงไม่ควรแต่งหน้าจัดเกินไป ใส่เครื่องประดับแต่พองาม ขณะนั่งสัมภาษณ์ก็ให้นั่งตัวตรงไม่เกร็ง,ไม่ห่อไหล่, ไม่ไขว้ห้าง, ควรซักซ้อมคำตอบที่ต้องเจออยู่แล้ว เช่นเรื่องการแนะนำตัว
ไม่พูดเสียงดังไปหรือเบาเกินไป (ภายในห้องเสียงค่อนข้างดัง เพราะโต๊ะข้างๆ ก็สอบเหมือนกัน), เมื่ออ่านคำถามแล้ว คิดและลำดับคำตอบดีๆ และตอบไปตามความรู้ที่มี "แล้วท่านก็จะสอบผ่านเป็นอัยการผู้ช่วยอย่างเต็มตัว"
ว่ากันตามความเป็นจริง หากคุณคิดอยากจะสอบท่านหรืออัยการ ขอแนะนำว่า อย่างน้อยที่สุดควรจะมีวุฒิป.โท สายนิติศาสตร์ เพราะผลการสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาสนามใหญ่ปีล่าสุด มีคนผ่านแค่ 15 คนเอง (จากผู้สมัครสอบ 8,000 คน เข้าสอบ 6,000กว่า), ในขณะที่สนามเล็ก ผ่าน 36 คน(จาก 2,100คน) และสนามจิ๋ว 46 คน(จาก จำนวนคนสอบ 196)*
ลำพังแค่วุฒิ ป.ตรี นิติฯ + เนติ มันไม่เพียงพอต่อการสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาอีกต่อไป (หากไม่ใช่คนที่มีวาสนาและเก่ง)
การสอบสนามใหญ่ ถ้าคุณไม่มุ่งมั่นจริงๆและมีความอึดเหนือมนุษย์ ประมาณว่า อ่านหนังสือเตรียมสอบเฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย คุณไม่มีทางสอบได้ ในจำนวน 15 คนที่สอบผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ 12 คนในจำนวนนั้นสอบผู้ช่วยอัยการก่อนหน้านี้ได้, 1 คนในจำนวน15 คนนั้นเคยเป็นอาจารย์นิติ ม.ธรรมศาสตร์ (มีวุฒิ LL.M ป.โทนิติฯ), 2 คนเคยเป็นปลัดอำเภอ (สอบปี 51 โดยคนหนึ่งสามารถสอบปลัดอำเภอได้ลำดับที่2 และอีกคนได้ลำดับที่ 4) และทุกคนล้วนแต่สอบผู้ช่วยผู้พิพากษาสนามใหญ่มาไม่ต่ำกว่า 3รอบ
1.ผู้ช่วยผู้พิพากษาสนามใหญ่ คุณต้องมีวุฒิ ป.ตรี นิติศาสตรบัณฑิต+เนติ และต้องทำงานเป็นนิติกรในหน่วยงาน(รัฐฯ)ที่ได้รับการรับรองไม่ต่ำกว่า 2ปี หรือ เป็นทนายเก็บคดี 20คดี(ราวๆ 2ปี) นั่นหมายความว่า หากคุณอยากเป็น"ท่าน"นั่งบัลลังก์ คุณเองก็ควรจะมีตั๋วทนายด้วย ไว้สำหรับว่าความเพื่อเก็บคดี
2.ผู้ช่วยผู้พิพากษาสนามเล็ก สนามนี้ คู่แข่งจะลดลงเยอะครับ อย่างไรก็ดีคุณต้องมี วุฒิป.ตรีนิติศาสตรบัณฑิต+เนติ+วุฒิ.ป.โทสายนิติศาสตร์(ในประเทศ หรือนอกประเทศที่ กพ รับรอง) เก็บคดี 10 คดี (ราวๆ 1 ปี)
3. ผู้ช่วยผู้พิพากษาสนามจิ๋ว สนามนี้คู่แข่งน้อยที่สุด การตรวจข้อสอบไม่โหดเท่าสนามใหญ่ อย่างไรก็ดีสำหรับการสอบสนามนี้ ที่บ้านคุณก็ควรมีฐานะ(หรือไม่ คุณก็ต้องเก่ง จนสามารถชิงทุนที่ไม่ผูกมัดไปเรียนได้) เพราะคุณต้องมีวุฒิป.ตรีนิติศาสตรบัณฑิต+เนติ+วุฒิป.โทนิติศาสตร์(LL.M.)จากต่างประเทศที่ กพ รับรอง จำนวน 2ใบ (หรือที่เคยได้ยินมา คือ จบ ป.เอกจากต่างประเทศ) และต้องเก็บคดี 10 คดี

วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้คือ
วิชาที่สอบคัดเลือก คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ
การสอบคัดเลือก มีการสอบข้อเขียน 3 วัน
๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จํานวน ๖ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จํานวน ๔ ข้อ จํานวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง ๑๐ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
(๒) วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จํานวน ๖ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จํานวน ๔ ข้อ จํานวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง ๑๐ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
(๓) วันที่สาม วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จํานวน ๒ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จํานวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จํานวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จํานวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จํานวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน จํานวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จํานวน ๑ ข้อ จํานวนข้อสอบรวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๒๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จํานวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
วิชาภาษาอังกฤษออกข้อสอบ ๒ ข้อ ข้อที่หนึ่งเป็นคําถามที่ให้แปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และข้อที่สองเป็นคําถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

เกณฑ์ที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าและต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของคะแนน ทั้งสองอย่างรวมกัน

รายละเอียดวิชาที่สอบ
สอบอัยการผู้ช่วย
1 ประมวลกฎหมายอาญา
2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
4 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
5 กฎหมายปกครอง
6 คำถามและคำตอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
7 คำถามและคำตอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
8 คำถามและแนวคำตอบกฏหมายอาญา
9 ความรู้เรื่องการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
10 ตัวอย่างแนวข้อสอบอัยการผู้ช่วย
11 สรุปย่อกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
12 สรุปย่อหลักกฎหมายอาญา

 

 

 

 

สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรมายช่างโยธาอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบวิศวกรไฟฟ้าอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนายช่างไฟฟ้าอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชีอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบบรรณารักษ์อัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบพนักงานบริหารงานทั่วไปอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักทรัพยากรบุคคลอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักระบบงานคอมพิวเตอร์อัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการคอมพิวเตอร์อัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์อัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบพนักงานเขียนแบบอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนายช่างสำรวจอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบพนักงานธุรการอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักจัดการงานทั่วไปอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบพนักงานประจำสำนักงานอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการสัตวบาลอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิทยาศาสตร์อัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิทยาศาสตร์การแพทย์อัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุขอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบพนักงานการอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการคลังอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการวัฒนธรรมอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการศาสนาอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักสังคมสงเคราะห์อัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักจิตวิทยาอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการตรวจสอบภายในอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบเจ้าหน้าที่ประมงอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการประมงอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการสถิติอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบเศรษฐกรอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบเจ้าพนักงานพัสดุอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบ นักวิชาการแรงงานอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการศึกษาอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการโสตทัศนศึกษาอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการสิ่งแวดล้อมอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบช่างยนต์อัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิชาการขนส่งอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักวิเทศสัมพันธ์อัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ข้อสอบนักการตลาดอัยการผู้ช่วย ผู้พิพากษา