การเตรียมตัวสอบสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

หมวดหมู่สินค้า: การเตรียมตัวสอบราชการ

30 กรกฎาคม 2564

ผู้ชม 99 ผู้ชม

การเตรียมตัวสอบสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี


คำแนะนำในการสอบสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจรับผิดชอบเกี่ยวกับการประชุมและการให้บริการคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ เช่น การดำเนินการประชุมคณะรัฐมนตรี การแจ้งมติคณะรัฐมนตรี การติดต่อกับรัฐสภาในเรื่องอันไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดไปปฏิบัติ อาทิ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร การเปิดและปิดสมัยประชุมของรัฐสภา
ในการสอบเข้าสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ก่อน แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. การสอบเข้าสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

การเตรียมตัวสอบ
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง 2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ 3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน

วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ( 200 คะแนน )
ทดสอบความรู้โดยการสอบข้อเขียน ในเรื่องต่อไปนี้
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- กฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
- ความรู้เฉพาะตำแหน่ง
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง ( 100 คะแนน ) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง

รายละเอียดวิชาที่สอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
2 ความสามารถด้านภาษาไทย
3 แนวข้อสอบภาษาไทย
4 แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
5 แนวข้อสอบความรู้การเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ประชาคมอาเซียน

 

 

 

 

สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรมายช่างโยธาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบวิศวกรไฟฟ้าสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนายช่างไฟฟ้าสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบบรรณารักษ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบพนักงานบริหารงานทั่วไปสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักทรัพยากรบุคคลสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักระบบงานคอมพิวเตอร์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการคอมพิวเตอร์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบพนักงานเขียนแบบสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนายช่างสำรวจสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบพนักงานธุรการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักจัดการงานทั่วไปสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบพนักงานประจำสำนักงานสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการสัตวบาลสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิทยาศาสตร์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิทยาศาสตร์การแพทย์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุขสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบพนักงานการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการคลังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการวัฒนธรรมสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการศาสนาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักสังคมสงเคราะห์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักจิตวิทยาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการตรวจสอบภายในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบเจ้าหน้าที่ประมงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการประมงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการสถิติสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบเศรษฐกรสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบเจ้าพนักงานพัสดุสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบ นักวิชาการแรงงานสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการศึกษาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการโสตทัศนศึกษาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการสิ่งแวดล้อมสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบช่างยนต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิชาการขนส่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักวิเทศสัมพันธ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข้อสอบนักการตลาดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี