การเตรียมตัวสอบสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กรกฎาคม 2564
ผู้ชม 99 ผู้ชม
การเตรียมตัวสอบสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
คำแนะนำในการสอบสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ในการสอบเข้ารับราชการของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ซึ่งการสอบเข้าสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
การเตรียมตัวสอบ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง 2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ 3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
การสอบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ชายควรโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย ผู้หญิงเสื้อผ้าหน้าผมต้องเยี่ยม แนะนำให้สวมสูทด้วยจะดูดีมีระดับ แต่ไม่ควรแต่งหน้าแบบงานรับปริญญาเป็นเจ้าป้าโดยเด็ดขาด คำถามที่จะโดนถาม ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณ ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง ความรู้เกี่ยวกับกรมฯ ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รอบแห่งการสอบภาค ค. หรือรอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง เป็นรอบที่ต้อง อาศัยกำลังภายใน รอบนี้ต่างหาก ที่ต้องระมัดระวังบรรดา เด็กเส้น เด็กฝากทั้งหลาย เป็นรอบแห่งการวิ่งเข้าหาผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในกระทรวง กรม กอง ต้องรีบนำกระเช้าของขวัญติดไม้ติดมือ ไปกราบไหว้ท่านโดยด่วน ให้ท่านเอ็นดู อุปการคุณ เนื่องจากคะแนนสอบในภาคนี้ มีประมาณกึ่งหนึ่งของคะแนนข้อเขียน และค่อนข้างมีผลชี้เป็น ชี้ตาย ชี้ได้ ชี้ไม่ได้ วันประกาศผลจะเรียงคะแนนตามลำดับมากไปหาน้อย ต้องรอลุ้นอย่างระทึกใจ ทั้งนี้ในประกาศรับสมัครจะบอกว่ารับจำนวนเท่าใด หากติดลำดับที่เรียกบรรจุในครั้งแรก จะมีหนังสือเรียกตัวไปบรรจุ แต่หากไม่ได้รับการบรรจุในรอบแรก ต้องคอยติดต่อข่าวสารอย่างตลอด บัญชีการสอบแข่งขันจะมีอายุประมาณ 2 ปี กรณีได้การบรรจุในรอบแรก ต้องเตรียมหลักฐานทั้งตัวจริงและสำเนาไปให้พร้อม อันจะได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบปริญญาบัตร ใบแสดงผลการเรียน ใบทะเบียนสมรส ทั้งคู่สมรส และของบิดา มารดา ขั้นตอนการบรรจุ จะต้องกรอกเอกสาร กพ.7 ซึ่งเปรียบเสมือนทะเบียนประวัติของตัวเราเอง ในวันนั้นอาจจะมีการปฐมนิเทศ ภารกิจของกรมฯ สิทธิผลประโยชน์ที่พึงได้ สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร การทดลองราชการ ระเบียบการลา ฯลฯ
วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ( 200 คะแนน ) โดยการสอบข้อเขียน ในบางตำแหน่งจะมีการทดสอบปฏิบัติ เช่น นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
2. การสอบสัมภาษณ์ ( 100 คะแนน ) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
รายละเอียดวิชาที่สอบ
เจ้าพนักงานธุรการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับงานพัสดุ
3 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณ
4 ถาม - ตอบ เกี่ยวกับระเบียบงานสารบัญ
5 แนวข้อสอบความรู้งานธุรการ
6 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม
7 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม
8 แนวข้อสอบกฎหมายระเบียบงานสารบรรณ ชุด1
9 แนวข้อสอบกฎหมายระเบียบงานสารบรรณ ชุด2
10 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรมายช่างโยธาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบวิศวกรไฟฟ้าสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนายช่างไฟฟ้าสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบบรรณารักษ์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบพนักงานบริหารงานทั่วไปสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักทรัพยากรบุคคลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักระบบงานคอมพิวเตอร์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการคอมพิวเตอร์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบพนักงานเขียนแบบสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนายช่างสำรวจสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบพนักงานธุรการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักจัดการงานทั่วไปสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบพนักงานประจำสำนักงานสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการสัตวบาลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิทยาศาสตร์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิทยาศาสตร์การแพทย์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุขสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบพนักงานการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการคลังสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการวัฒนธรรมสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการศาสนาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักสังคมสงเคราะห์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักจิตวิทยาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการตรวจสอบภายในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบเจ้าหน้าที่ประมงสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการประมงสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการสถิติสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบเศรษฐกรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบเจ้าพนักงานพัสดุสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบ นักวิชาการแรงงานสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการศึกษาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการโสตทัศนศึกษาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการสิ่งแวดล้อมสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบช่างยนต์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิชาการขนส่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักวิเทศสัมพันธ์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อสอบนักการตลาดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร