การเตรียมตัวสอบรัฐสภา

หมวดหมู่สินค้า: การเตรียมตัวสอบราชการ

30 กรกฎาคม 2564

ผู้ชม 138 ผู้ชม

การเตรียมตัวสอบรัฐสภา


คำแนะนำในการสอบรัฐสภา

ในการสอบเข้ารัฐสภา ไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. การสอบเข้ารัฐสภา จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และการสอบบางตำแหน่งนอกจากการสอบข้อเขียนแล้วยังมีการทดสอบภาคปฏิบัติด้วย แล้วจึงสอบสัมภาษณ์ เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาปฏิบัติงาน จะมีการทดสอบ สรรถนะของร่างกาย ทดสอบพฤติกรรม ปฏิภาณไหวพริบ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

การเตรียมตัวสอบ
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และให้ติดตามข่าวสารต่างๆแล้วจับประเด็นให้ได้
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง 2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ 3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน

วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้คือ
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
ก. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้ โดยวิธีกำรสอบข้อเขียน
๑. วิชาความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) ความสามารถทางด้านการคิดคำนวณ
ทดสอบความสามารถในการประยุกต์ใช้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น
กำรวิเคราะห์หำความสัมพันธ์ของจำนวนหรือปริมาณ การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และข้อมูลต่าง ๆ
(๒) ความสามารถด้านเหตุผล
ทดสอบความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความหรือรูปภาพ การหาข้อยุติ หรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ สถานการณ์หรือแบบจำลองต่าง ๆ
๒. วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) ความเข้าใจภาษา
ทดสอบความสามารถในการอ่านและการทำความเข้าใจกับบทความหรือข้อความ
ที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความ หรือข้อความ ทั้งนี้ รวมไปถึงกำรสรุปความ และตีความด้วย
(๒) การใช้ภาษา
ทดสอบความสำมารถในการเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษาและการเรียงข้อความ
ข. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ผู้สมัครสอบในตำแหน่งใดต้องสอบวิชาเฉพาะตำแหน่งนั้น โดยวิธีสอบข้อเขียนหรือวิธีสอบปฏิบัติซึ่งผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสำมารถทั่วไป (ภาค ก.) แล้ว จึงจะมีสิทธิสอบภาคความรู้
ความสำมารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.)
ค. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ประเมินผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัวประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมอีกก็ได้เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ความสามารถที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม ความคิดริเริ่ม การปรับตัว ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบแข่งขันได้ จะต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนในแต่ละภาคที่สอบตามหลักสูตรไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ โดยคำนึงถึงหลักวิชาการวัดผล

 

 

 

ข้อสอบวิศวกรโยธารัฐสภา
ข้อสอบวิศวกรเครื่องกลรัฐสภา
ข้อสอบนักประชาสัมพันธ์รัฐสภา
ข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผนรัฐสภา
ข้อสอบสถาปนิกสอบรัฐสภา
ข้อสอบนายช่างโยธารัฐสภา
ข้อสอบวิศวกรไฟฟ้ารัฐสภา
ข้อสอบนายช่างไฟฟ้ารัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชีรัฐสภา
ข้อสอบเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีรัฐสภา
ข้อสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีรัฐสภา
ข้อสอบบรรณารักษ์รัฐสภา
ข้อสอบพนักงานบริหารงานทั่วไปรัฐสภา
ข้อสอบนักทรัพยากรบุคคลรัฐสภา
ข้อสอบนักระบบงานคอมพิวเตอร์รัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการคอมพิวเตอร์รัฐสภา
ข้อสอบเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์รัฐสภา
ข้อสอบพนักงานเขียนแบบรัฐสภา
ข้อสอบนายช่างสำรวจรัฐสภา
ข้อสอบพนักงานธุรการรัฐสภา
ข้อสอบนักจัดการงานทั่วไปรัฐสภา
ข้อสอบพนักงานประจำสำนักงานรัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการสัตวบาลรัฐสภา
ข้อสอบนักวิทยาศาสตร์รัฐสภา
ข้อสอบนักวิทยาศาสตร์การแพทย์รัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุขรัฐสภา
ข้อสอบเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลรัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการรัฐสภา
ข้อสอบพนักงานการรัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการคลังรัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการวัฒนธรรมรัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการศาสนารัฐสภา
ข้อสอบนักสังคมสงเคราะห์รัฐสภา
ข้อสอบนักจิตวิทยารัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการตรวจสอบภายในรัฐสภา
ข้อสอบเจ้าหน้าที่ประมงรัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการประมงรัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการสถิติรัฐสภา
ข้อสอบเศรษฐกรรัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการรัฐสภา
ข้อสอบเจ้าพนักงานพัสดุรัฐสภา
ข้อสอบ นักวิชาการแรงงานรัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการศึกษารัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการโสตทัศนศึกษารัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการสิ่งแวดล้อมรัฐสภา
ข้อสอบช่างยนต์รัฐสภา
ข้อสอบนักวิชาการขนส่งรัฐสภา
ข้อสอบนักวิเทศสัมพันธ์รัฐสภา
ข้อสอบนักการตลาดรัฐสภา